Page 163 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 163
แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของ Pender
การสร้างเสริมสุขภาพ แต่เดิมมักจะหมายถึง การบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ
แก่ประชาชน โดยบุคลากรสาธารณสุข (healthpromotion intervention)
อันได้แก่ งานอนามัยแม่และเด็ก งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานวางแผน
ครอบครัว งานสุขศึกษา งานอนามัยชุมชน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีอีก
ความหมายหนึ่งคือ หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพหรือการสร้างเสริมสุขภาพ
ที่ประชาชนปฏิบัติด้วยตนเอง (self health promotion) เช่น การออกก�าลังกาย
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมต่อสุขภาพ
การลด ละ เลิก บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่ปัจจุบันการส่งเสริมสุขภาพ
หรือการสร้างเสริมสุขภาพได้ขยายขอบเขตความหมายกว้างออกไปถึงการเป็นกลยุทธ์
ด้านสุขภาพที่เรียกว่า กลยุทธ์สร้างเสริมสุขภาพ (health promotion strategy)
ตามแนวคิด “สร้าง (สุขภาพ) น�าซ่อม (สุขภาพ)” ที่มุ่งเน้นอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ
การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับ
เปลี่ยนบริการสาธารณสุข ในปัจจุบันรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความสนใจ
อย่างแพร่หลาย เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการอธิบาย หรือคาดการณ์ถึงส่วนประกอบ
ของพฤติกรรมหรือแบบแผนการด�าเนินชีวิตที่สร้างเสริม สุขภาพของบุคคลที่เกิดขึ้น
คือ รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (Pender’s Health Promotion
Model) เพนดอร์ (Pender,1987) ได้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพมาตั้งแต่ปี
ค.ศ.1982 หลังจากที่ได้พัฒนารูปแบบการป้องกันสุขภาพขึ้นในปี ค.ศ.1975 และ
หลังจากที่เพนเดอร์ได้น�าเสนอรูปแบบ การส่งเสริมสุขภาพในปี ค.ศ.1982 แล้ว
Pender ได้ท�าการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ และพบว่า
บางมโนทัศน์ย่อย เมื่อน�ามาทดสอบด้วยการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว
ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ จึงได้ปรับปรุง
คัดลอก หรือให้นิยามมโนทัศน์ย่อยเหล่านั้นใหม่ และได้น�ารูปแบบใหม่ในปี ค.ศ.1987
ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)
โดยได้กล่าวถึงความส�าคัญของกระบวนการรับรู้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และ
เป็นการอธิบายพฤติกรรมที่กระท�าอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ประจ�าวัน ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพที่ Pender เสนอในครั้งนี้ แสดงในภาพที่ 2
ดังนี้
162 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research