Page 165 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 165
รับรู้คุณค่า ของสุขภาพของตนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีพฤติกรรมแสวงหาความรู้ด้าน
สุขภาพ และมีพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพมากกว่าผู้ที่ ไม่ตระหนักถึงความส�าคัญ
ของสุขภาพมากเท่านั้น
1.2 การรับรู้การควบคุมสุขภาพ (Perceived Control of Health)
เป็นความเชื่อของบุคคลเกี่ยวกับสุขภาพว่าเป็นผลมาจากการกระท�าของตนเอง
หรือการได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น หรือเป็นผลของความบังเอิญ โชคชะตา ถ้าบุคคล
รับรู้ว่าเป็นผลมาจากการแสดงพฤติกรรมของตนเอง แสดงว่ามีความเชื่ออ�านาจ
ภายในตน แต่ถ้าบุคคลเชื่อว่าภาวะสุขภาพเป็นผลมาจากการควบคุมโดยโชค
เคราะห์ ความบังเอิญ หรือบุคคลอื่นแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีความเชื่ออ�านาจ
ภายนอกตน
1.3 การรับรู้ความสามารถในตนเอง (Perceived Control of Health)
เป็นความเชื่อของบุคคลเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเป็นผลมาจากการกระท�ากิจกรรมต่างๆ
ได้เป็นผลส�าเร็จ
1.4 ค�าจ�ากัดความของสุขภาพ (Definition of Health) บุคคลแต่ละ
คนจะมีค�าจ�ากัดความของสุขภาพของตนเอง ผู้ที่ให้ความหมายสุขภาพแตกต่างกัน
จะมีแบบแผนพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน ถ้าบุคคลให้ความหมายของสุขภาพว่า
หมายถึง การปรับตัวหรือความสมดุลก็จะมีพฤติกรรมป้องกันการเกิดความเจ็บป่วย
ในขณะที่บุคคลซึ่งให้ความหมายของสุขภาพว่า หมายถึง การบรรลุเป้าหมายในชีวิต
บุคคลนั้นจะกระท�ากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตนมีสุขภาพดีและเพิ่มสุขภาวะในชีวิต
1.5 การรับรู้ภาวะสุขภาพ (Perceived Health Status) เป็นการ
ประเมินภาวะสุขภาพ ของตนเองว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิบัติกิจกรรม
ในการส่งเสริมสุขภาพ
1.6 การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Perceived
Benefits of Health Promoting Behaviors) แนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดในรูปแบบ
ของความเชื่อด้านสุขภาพ การที่บุคคลรับรู้ว่ากิจกรรม ที่ตนกระท�ามีประโยชน์
ต่อภาวะสุขภาพของตนเองจะส่งผลต่อระดับของการปฏิบัติกิจกรรมนั้นและมีแนวโน้ม
ว่าจะส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
1.7 การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Perceived
164 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research