Page 170 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 170
ที่สูงขึ้นและให้ความรู้ทางบวก ในความส�าเร็จของการแสดงออกในอดีต รวมทั้งให้
ข้อมูลป้อนกลับทางบวก
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal factors) ปัจจัยส่วนบุคคลเป็นตัว
ท�านายพฤติกรรม เป้าหมายซึ่งถูกปรับแต่งด้วยการพิจารณาไตร่ตรองตามธรรมชาติ
ในรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ ปรับปรุงใหม่นี้ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ปัจจัย
ทางชีวภาพของบุคคล( Personal biologic factors) ประกอบด้วย ตัวแปรต่างๆ
เช่น อายุ เพศ เครื่องชี้วัดขนาดของร่างกาย ภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะหมดระดู
ความสามารถ ในการออกก�าลังกายโดยใช้ออกซิเจน (Aerobic capacity)
ความแข็งแรง ความกระฉับกระเฉง หรือ ความสมดุลของร่างกาย ปัจจัยทาง
จิตวิทยาของบุคคล (Personal Psychologic factors) ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ
ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) แรงจูงใจในตนเอง (Self-
motivation) ความสามารถส่วนบุคคล (Personal competence) การรับรู้ภาวะ
สุขภาพ (Perceived health status) และค�าจ�ากัดความของสุขภาพ (Definition
of health) ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมของบุคคล (Personal sociocultural
facters) ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว วัฒนธรรม
ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย การศึกษา และสภาวะเศรษฐกิจสังคม เนื่องจากปัจจัย
ส่วนบุคคลมีมากมาย จึงต้องคัดเลือกตัวแปรที่ส�าคัญ สามารถอธิบายหรือ ท�านาย
พฤติกรรมเป้าหมายได้ แม้ว่าปัจจัยส่วนบุคคลจะมีอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึก
และการท�านายพฤติกรรมสุขภาพได้ แต่ปัจจัยส่วนบุคคลบางอย่างไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น จึงไม่ค่อยน�าปัจจัยส่วนบุคคลมาใช้ในการปฏิบัติการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
2. ความคิดและความรู้สึกของบุคคลที่มีเฉพาะต่อพฤติกรรม (Behavior-
specific Cognitions and Affect) ตัวแปรกลุ่มนี้ในรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพใหม่
ได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลุ่มที่มีความส�าคัญ ในการจูงใจมากที่สุด และเป็นแกน
ส�าคัญส�าหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะน�าไปใช้ปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพของบุคคล ประกอบด้วย 1. การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
(Perceived Benefits of Action) 2. การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
(Perceived Barriers to Action) 3. การรับรู้ความสามารถในตนเอง (Perceived
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 169
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research