Page 166 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 166

Barriers to Health Promoting Behaviors) เป็นการรับรู้อุปสรรคที่ขัดขวางต่อ

            พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น ความไม่สะดวกสบาย ความยากล�าบาก ไม่มีเวลา
            ไม่มีโอกาสกระท�ากิจกรรม หรือความห่างไกลจากสถานที่ที่จะกระท�ากิจกรรม
            จะส่งผลให้มีการกระท�ากิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพน้อยลง
                   2. ปัจจัยปรับเปลี่ยน (Modifying Factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรง
            ต่อการรับรู้และมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผ่านปัจจัยด้าน
            การรู้คิด-การรับรู้ ซึ่งมีดังนี้

                     2.1  ปัจจัยส่วนบุคคล (Demographic Factors) ได้แก่ อายุ เพศ
            เชื้อชาติ และน�้าหนักตัว
                     2.2  ลักษณะทางชีววิทยา (Biological Factors) ได้แก่ สัดส่วนของ
            ร่างกาย
                     2.3  อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences) ได้แก่
            ความเชื่อถือบุคคลอื่น แบบแผน การใช้บริการสุขภาพของครอบครัว และการมี
            ปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลกระ

            ทบต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
                     2.4  ปัจจัยด้านสถานการณ์ (Situational Factors) ประสบการณ์ใน
            อดีตที่เคยปฏิบัติ กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพ จะส่งผลให้บุคคลปฏิบัติกิจกรรมใน
            การส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ด้วย เพื่อน�าไปสู่ภาวะปกติสุข ความรู้และทักษะบางอย่าง
            จะส่งเสริมให้บุคคลปฏิบัติกิจกรรมการส่งเสริม สุขภาพที่ซับซ้อนได้

                   3. การแสดงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Participation in Health-
            promoting behavior) ตัวชี้แนะ การกระท�า (Cue to Action) ได้แก่ สิ่งกระตุ้น
            ภายในหรือภายนอกที่ท�าให้มีการแสดงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการประเมิน
            พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ Pender นั้น ได้ประเมินแบบแผนการด�าเนินชีวิต
            ที่ส่งเสริมสุขภาพ โดยสร้างแบบวัดแบบแผนการด�าเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ
            (The Lifestyle and Health-habits Assessment) ไว้ 10 ด้าน คือ ความสามารถ
            ในการดูแลตนเองทั่วๆไป (General Competence in Self-care) การปฏิบัติด้าน

            โภชนาการ (Nutritional Practices) การออกก�าลังกายและกิจกรรมเพื่อการ
            สันทนาการ (Physical or Recreational Activity) แบบแผนการนอนหลับ (Sleep


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   165
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171