Page 169 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 169
จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเป้าหมายที่จะน�ามาพิจารณา การเลือกวัดปัจจัยพฤติกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับอดีต และลักษณะส่วนบุคคลในรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพซึ่งอาจ
เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์สูงกับพฤติกรรมสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง แต่ไม่ใช่
ประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอดีตและปัจจัยส่วนบุคคล
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอดีต ปัจจัยด้านพฤติกรรมในอดีต คือ
ความถี่ในการปฏิบัติพฤติกรรม ที่เหมือนๆ กันหรือคล้ายคลึงกันกับการปฏิบัติ
พฤติกรรมที่ผ่านมาในอดีตที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม ที่น�าไป
สู่ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผลโดยตรงของพฤติกรรมในอดีตต่อ
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน อาจเกี่ยวกับลักษณะนิสัยซึ่งจะน�าเข้าไปสู่
การปฏิบัติพฤติกรรม โดยอัตโนมัติ โดยให้ความสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับผลที่จะ
เกิดขึ้นและจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นด้วยการประพฤติปฏิบัตินั้นซ�้าๆ ส่วนผลโดยอ้อม
ของพฤติกรรมในอดีตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตามทฤษฎีการรับรู้
ทางสังคมจะผ่านทางการรับรู้ความสามารถในตนเอง (Self-efficacy) ประโยชน์
(Benefits) อุปสรรค (Barriers) และความรู้สึกเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ (Self-
related affect) ตามทฤษฎีของแบนดูราที่กล่าวว่า เมื่อแสดงพฤติกรรมแล้วได้รับ
ข้อมูลป้อนกลับจะเป็นแหล่งข้อมูลส�าคัญของข้อมูลความสามารถหรือทักษะของตน
ผลประโยชน์ที่เคยได้รับจากการกระท�าพฤติกรรมในอดีต (Bandura, 1986 cited
by Pender, 1996) ซึ่งแบนดูราเรียกว่า การคาดหวังผลที่จะเกิดขึ้นซึ่งท�าให้บุคคล
นั้นมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นซ�้ามากขึ้น และพฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมี
การกระท�าซ�้าๆบ่อยๆ อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการกระท�าพฤติกรรมเป็นประสบการณ์
และแหล่งข้อมูลในความทรงจ�าที่เปรียบเสมือนกับเครื่องกีดขวาง ที่ต้องข้ามให้ผ่านพ้น
เพื่อจะได้ประสบความส�าเร็จในการแสดงพฤติกรรม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทุกๆ ครั้ง
จะมีอารมณ์หรือความรู้สึกเกิดร่วมด้วย ความรู้สึกทางบวกหรือทางลบที่เกิดขึ้นก่อน
ระหว่างหรือภายหลังการแสดงพฤติกรรมจะเก็บรวบรวมไว้ในความทรงจ�า เพื่อเป็น
ข้อมูลที่น�ามาพิจารณาไตร่ตรองเมื่อจะเข้าสู่พฤติกรรมในภายหลัง พฤติกรรม
ในอดีตจะถูกน�ามาเสนอในลักษณะการปรับแต่งพฤติกรรมทางบวก โดยยกประเด็น
ประโยชน์ของการท�าพฤติกรรม สอนวิธีการให้ผู้รับบริการสามารถฟันฝ่าอุปสรรค
ทั้งหลายเพื่อน�าไปสู่การปฏิบัติพฤติกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดความสามารถในระดับ
168 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research