Page 172 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 172

ส�าคัญในชีวิตได้ ส่วนความพอใจที่แทรกแซงถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมทางเลือกที่ให้

            ผลตอบแทนที่มากกว่า หรือเหนือกว่าที่บุคคลสามารถควบคุมได้ในระดับสูง
            สามารถท�าให้ล้มเลิกพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ เมื่อพอใจพฤติกรรมที่มา
            แทรกแซงความสามารถในการเอาชนะปัจจัยความพอใจที่แทรกแซง ขึ้นอยู่กับ
            ความสามารถของบุคคลที่จะควบคุมตนเอง การตัดสินใจที่เข้มแข็งต่อการวางแผน
            การปฏิบัตินั้นอาจจะสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ และผลของความตั้งใจที่
            สมบูรณ์ รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพนั้น ปัจจัยการแข่งกระท�าในเรื่องที่ต้องท�าและ

            เรื่องที่ชอบในทันทีทันใด มีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นไปได้ที่จะเกิดพฤติกรรม
            สุขภาพและมีผลต่อความตั้งใจได้
                     3.3  พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-promotion behavior)
            พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นจุดสุดท้ายหรือเป็นการกระท�าที่เกิดขึ้นในรูปแบบ
            ส่งเสริมสุขภาพ อย่างไรก็ตามควรระลึกไว้ว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจะคงอยู่ให้
            ยั่งยืนต่อไปแก่ผู้รับบริการโดยตรง สามารถน�าไปใช้ได้ทุกมุมมองของการด�าเนินชีวิต
            โดยผสมผสานเข้ากับแบบแผนการด�าเนินชีวิตทางสุขภาพซึ่งเป็นผลให้เกิด

            ประสบการณ์สุขภาพในทางบวกต่อไปตลอดช่วงชีวิต เพนเดอร์ (Pender, 1982)
            กล่าวว่า การประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สามารถประเมินหรือพิจารณาได้
            จากแบบแผนการด�าเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ (Health promoting lifestyles)
            โดยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สามารถประเมินได้จากแบบวัดแบบแผนการส่งเสริม
            สุขภาพ ในการด�าเนินชีวิตประจ�าวันของ Walker, Sechrist, and Pender (Health

            Promoting Lifestyle Profile II : HPLP II) ซึ่งแบบประเมินดังกล่าวจะเป็น
            แบบแผนการด�าเนินชีวิตเพื่อส่งเสริมสุขภาพของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศทาง
            ตะวันตก ผู้วิจัยจึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
            ทั้ง 6 ด้าน ในบริบทสังคมไทยเพื่อให้เหมาะสมกับประชาชน โดยยังคงยึดตามกรอบ
            แนวคิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ Pender ซึ่งแบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้
                          1. ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (Health Responsibility) บุคคล
            ต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตนเอง การสนใจแสวงหาความรู้

            ทางด้านสุขภาพ การสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง และตรวจสุขภาพของตนเอง
            อย่างสม�่าเสมอ เช่น การตรวจเต้านม การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   171
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177