Page 176 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 176
3. การท�ากิจกรรมและการออกก�าลังกาย (Physical Activity)
การท�ากิจกรรมและการออกก�าลังกาย การท�ากิจกรรมเป็นการช่วยให้ร่างกายได้
เคลื่อนไหว เพื่อใช้พลังงาน เช่น การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
เดินในระยะทางครึ่งถึง 1 กิโลเมตร เพื่อท�ากิจธุระต่างๆ เป็นต้น การออกก�าลังกาย
เป็นการใช้แรงกล้ามเนื้อและร่างกายให้เคลื่อนไหวท�าให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี
นอกจากนี้ยังผ่อนคลายความตึงเครียด ความวิตกกังวล ท�าให้อารมณ์ดี และยังช่วย
ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บด้วยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
ประกอบกับการด�าเนินชีวิตในปัจจุบันขาดการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจ�าวัน
การออกก�าลังกายอย่างสม�่าเสมอ ช่วยเสริมสร้างให้ทุกคนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
มีภูมิคุ้มกันโรค เจริญเติบโต รูปร่างได้สัดส่วน น�าไปสู่การพัฒนาทางร่างกายและ
สติปัญญาตามวัย แต่ในขณะเดียวกันการออกก�าลังกายอาจก่อให้เกิดผลร้ายและ
เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ถ้าการออกก�าลังกายนั้นไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
เพศ วัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมสามารถสรุปหลักการ
ออกก�าลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ดังนี้
3.1 การออกก�าลังกายเป็นประจ�าอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
ครั้งละ 20 – 30 นาที
3.2 การออกก�าลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม ควรมี
การอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนออกก�าลังกาย โดยใช้เวลา 5 – 10 นาที
3.3 การออกก�าลังกายให้เหมาะสมกับวัย
3.4 การออกก�าลังกายที่ให้ความสนุกสนาน
3.5 การแต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกก�าลังกาย
3.6 การออกก�าลังกายในสถานที่ปลอดภัย
3.7 ควรออกก�าลังกายหลากหลายชนิด และเหมาะสมกับ
แบบแผนการด�าเนินชีวิต
3.8 ถ้าหากว่าออกก�าลังกายแล้วท�าให้มีอาการผิดปกติอย่าง
หนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น หอบมากผิดปกติ ควรหยุดออกก�าลังกาย
นั้นทันที และควรปรึกษาแพทย์
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 175
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research