Page 178 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 178
4.4 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8
ชั่วโมง
4.5 ไม่ควรเก็บปัญหาคับข้องใจไว้เพียงผู้เดียว
4.6 การใช้หลักศาสนาโดยการนั่งสมาธิ
4.7 การออกก�าลังกายหรือเล่นกีฬาที่ชอบ ก็จะสามารถ
ผ่อนคลายความเครียดได้ นอกจากนี้ Pender ได้เสนอวิธีการจัดการความเครียด
โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไป
จัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม เพิ่มความต้านทานต่อความเครียด โดยการออกก�าลังกาย
เพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง เพิ่มพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness)
ก�าหนดเป้าหมายทางเลือก พัฒนาแหล่งประโยชน์ที่ช่วยในการเผชิญความเครียด
สร้างเงื่อนไขตรงกันข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นทางสรีระโดยฝึกเทคนิค
การผ่อนคลายต่างๆ และควบคุมการตอบสนองทางด้านสรีระให้กล้ามเนื้อ
เกิดการผ่อนคลายความเครียด หรือกระตุ้นการท�างานของพาราซิมพาเธติคแทนซิม
พาเธติค
5. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relations)
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว เพื่อน และ
บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง จะท�าให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น
น�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรู้ทางสังคมและพฤติกรรมด้านต่างๆ
นอกจากนี้ถ้าได้รับการสนับสนุนหรือการเอาใจใส่ จะท�าให้มีการปฏิบัติพฤติกรรมนั้นๆ
มากขึ้น โดยการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้นั้น ต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเอง
ให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ง่าย ให้ความรักความเป็นกันเองกับบุคคลใกล้ชิด ยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น เปิดเผยตนเอง เมื่อมีปัญหากล้าที่จะขอความช่วยเหลือจาก
บุคคลอื่น
6. การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Growth) การพัฒนา
ทางด้านจิตวิญญาณ จิตวิญญาณเป็นระดับการรับรู้สติที่สูงขึ้น สุขภาพจิตด้าน
จิตวิญญาณ จึงเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการพัฒนาธรรมชาติของ
จิตวิญญาณให้มีศักยภาพในระดับสูงสุดเป็นความสามารถในการค้นหาและความชัดเจน
ของเป้าหมายขั้นพื้นฐานในชีวิต เรียนรู้ถึงประสบการณ์ด้านความรัก ความสนุกสนาน
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 177
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research