Page 175 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 175
2.7 การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานจัดและเค็มจัด
ควรจ�ากัดพลังงานที่ได้จากน�้าตาลในแต่ละวัน อย่างมากสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของ
พลังงานที่ได้รับจากอาหารทั้งหมด และไม่ควรรับประทานน�้าตาลเกินวันละ 40 –
55 กรัม หรือมากกว่า 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน เพราะพลังงานที่ได้รับจากน�้าตาลส่วนเกิน
จะสะสมท�าให้อ้วนได้ นอกจากนี้ไม่ควรรับประทานเกลือแกงเกินวันละ 6 กรัม
หรือ มากกว่า 1 ช้อนชา เพราะจะท�าให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง รวมทั้ง
สารที่ให้ความเค็มในเครื่องปรุงรส เช่น น�้าปลา ซีอิ๊วขาว และเกลือที่ใช้ในการ
ถนอมอาหาร เช่น ปลาร้า ปลาเค็ม ปลาจ่อม ผักดอง และเกลือโซเดียมที่แฝงมากับ
ขนมอบกรอบ ขนมอบฟู อาหารประเภทเนื้อที่หมักด้วยเกลือ ควรท�าให้สุก
ด้วยความร้อน เพื่อฆ่าพยาธิและท�าลายไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสาร
ก่อมะเร็งจากการหมักโปรตีน เนื่องจากสารไนไตรซามีนถูกท�าลายด้วยความร้อนได้
2.8 การรับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
อาหารมีการปนเปื้อนจาก ขบวนการผลิต ปรุง ประกอบ และจ�าหน่ายโดยไม่ถูก
สุขลักษณะ หรือจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมท�าให้มีการปนเปื้อนจากเชื้อโรค
พยาธิต่างๆ สารเคมีที่เป็นพิษหรือโลหะหนักที่เป็นอันตราย ดังนั้นควรรับประทาน
อาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ พืชผัก ผลไม้ต้องสะอาด เลือกซื้ออาหารปรุงส�าเร็จ
จากที่จ�าหน่ายที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุกใหม่ๆ มีการป้องกันแมลงวัน บรรจุในภาชนะ
ที่สะอาด มีอุปกรณ์หยิบจับหรือตักแทนการใช้มือ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
และหลังใช้ส้วม มีช้อนกลางและหยิบจับ อุปกรณ์ให้ถูกต้อง และไม่ควรรับประทาน
อาหารขยะ เช่น ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง เพราะอาหารพวกนี้ท�าจากแป้งขัดขาว
ทอดในน�้ามันซ�้าๆ ซึ่งเต็มไปด้วยอนุมูลอิสระทั้งใส่วัตถุกันเสีย ผงชูรสใส่สี
จึงบั่นทอนสุขภาพ ท�าให้ร่างกายเสื่อม ภูมิต้านทานลดลงท�าให้เจ็บป่วยได้ง่าย
2.9 การงดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มสุราหรือ
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นประจ�าจะมีโทษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สูญเสีย
ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ดังนั้นในรายที่ดื่มเป็นประจ�าจะต้องลดปริมาณ
การดื่มน้อยลง และถ้าหากงดดื่มได้จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนในรายที่เริ่มดื่มและ
ดื่มเป็นบางครั้งควรงดดื่ม
174 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research