Page 180 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 180
2.3 การตระหนักถึงการจัดล�าดับความส�าคัญของชีวิต
2.4 ความตั้งใจพัฒนาด้านจิตวิญญาณ
3. ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
3.1 การให้ความส�าคัญกับสุขภาวะด้านจิตวิญญาณกับคนอื่นๆ
3.2 การแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และความเชื่อด้านจิตวิญญาณ
กับคนอื่นๆ อย่างเปิดเผย
3.3 การให้การยอมรับนับถือด้านจิตวิญญาณของคนอื่นๆ
สุขภาพด้านจิตวิญญาณ จึงเป็นการสะท้อนกลับของความรู้สึกมีชีวิตชีวา
และความสงบสุขในระดับลึก ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์หรือไม่มีความสัมพันธ์กับ
เหตุการณ์ภายนอก ความเชื่อถือศรัทธาในระดับที่สูงขึ้น ความรู้สึกเพียงอย่างเดียว
ซึ่งทั้งหมดเป็นความรู้สึกที่ดีหรือความรู้สึกที่วิเศษและการเชื่อว่าชีวิตนี้มีเป้าหมาย
และชีวิตมีความผสมกลมกลืนกับเป้าหมายนั้นเป็นคุณลักษณะทางด้านจิตวิญญาณ
คือ ความรู้สึกรื่นรมย์ สวยงาม เป้าหมาย และความหมายของชีวิตเป็นความต้องการ
ประสบการณ์ ซึ่งทุกคนไม่ค�านึงถึงความเชื่อในการมีชีวิตที่สูงสุด การพัฒนาทางจิต
วิญญาณ เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีความเชื่อในสิ่งยึดเหนี่ยวในการด�าเนินชีวิต
ท�าให้เกิดความรู้สึกที่ดี เช่น ความเชื่อในหลักศาสนาและการปฏิบัติศาสนกิจ
เพื่อพัฒนา ด้านจิตใจ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มีจุดมุ่งหมายในชีวิต มีความสุข
ความพึงพอใจในชีวิตสามารถช่วยตนเองและบุคคลอื่นให้ประสบความส�าเร็จได้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สุธิศา และคณะ (2549) ได้ศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริม
สุขภาพของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา
2547 กลุ่มตัวอย่าง จ�านวน 104 คน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย
ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ระดับน�้าตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล
ในเลือด และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดอยู่ในระดับปกติ ภาวะสุขภาพด้านจิตใจ
ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่มีปัญหาด้านอาการทางกาย อาการวิตกกังวล
และนอนไม่หลับ ความบกพร่องทางสังคมและอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง
และมีความเครียด ระดับปานกลาง พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมและ
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 179
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research