Page 11 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 11

แต่นาขั้นบันไดเอาไว้ถ่ายรูป “เช็กอิน” ตอนออกทริป แต่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำาเอา
           ปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้งในการพัฒนา


           ลงใต้ไปแถวระนองกับเรื่องของกองทุนฟื้นฟูอาชีพบ้านไร่ใต้สามัคคี  ที่ก่อตั้งขึ้น

           หลังประสบภัยสึนามิเมื่อสิบกว่าปีก่อน ได้ช่วยให้ชีวิตที่เกือบสิ้นเนื้อประดาตัวของ
           คนในหมู่บ้านลุกขึ้นหยัดยืนได้อีกครั้ง


           ส่วนที่สุดปลายด้ามขวานมีกลุ่มมุสลิมะฮ์บ้านน�้าใส  ปัตตานี  ที่หญิงม่ายจาก
           สถานการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ และหญิงที่ประสบปัญหาครอบครัวรวมกลุ่ม
           เพื่อช่วยเหลือกันเอง



           และยังมีชีวิตของกลุ่มแม่บ้านบ้านคุ้ม  กลุ่มแม่บ้านห่างไกลในภาคอีสานที่ไม่ต้องย้าย
           ถิ่นฐานมาทำางานในกรุงเทพฯ แต่นั่งหลังขดหลังแข็งเย็บผ้าจนส่งลูกเรียนจบกันไปหลายคน


           การเดินทางจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย
           ก้าวไปแบบไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ ในรอบกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แต่ยังคงมีคนเป็นจำานวนมาก
           ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เท่าเทียม คนเหล่านี้
           รวมไปถึงชนกลุ่มน้อย  เด็ก  ผู้หญิง  ชายรักชาย  กลุ่มคนข้ามเพศ  ผู้ใช้ยาเสพติด
           แรงงานอพยพ พนักงานบริการทางเพศ และผู้สูงอายุ กลุ่มคนเหล่านี้เผชิญกับภาวะ
           สุขภาพ ความรุนแรง ความยากจน ด้อยการศึกษา แถมยังเผชิญความไม่เป็นธรรม

           ทางสังคม และเข้าไม่ถึงทรัพยากรต่าง ๆ


           ด้วยสำานึกแห่งมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน  เราคงไม่อาจปล่อยให้ผู้คนที่อยู่ร่วมใน
           สังคมเดียวกับเราต้องเผชิญกับภาวะยากลำาบากโดยไม่ลงมือทำาอะไรเลย  ครั้นจะปล่อยให้

                                                               ผู้หญิงก้าวเดิน  9
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16