Page 12 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 12

เป็นหน้าที่ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ดูจะไม่ทันการณ์  และหลายประเด็นก็เห็นกันอยู่แล้วว่า
        มือเท้าของรัฐเอื้อมไปไม่ถึง หรือไม่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวพอที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น



        นั่นจึงเป็นเหตุที่ว่าทำาไมจึงต้องมีองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการพัฒนาเข้ามาทำางานกับ
        กลุ่มคนต่าง ๆ ที่กล่าวมา


        สำาหรับมูลนิธิรักษ์ไทยนั้น  แรกเริ่มดำาเนินการภายใต้ชื่อ  องค์การแคร์นานาชาติ
        ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนจากสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้ามาในไทยเมื่อปี 2522 ทำางานกับ
        ผู้ลี้ภัยสงครามจากกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพตามชายแดนภาคตะวันออก
        จากนั้นขยับขยายไปยังงานพัฒนาแก่ชุมชนยากจนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ
        จนล่วงเข้าสู่ปลายทศวรรษ 2530 การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่มุ่งจะเป็นกลุ่มประเทศ
        อุตสาหกรรมใหม่ (NICs) อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

        ส่งผลให้ฐานะของประเทศขยับดีขึ้น  และด้วยสภาพสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปเช่นนี้
        โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่ยากจนกว่า จึงมีความจำาเป็นที่องค์การแคร์นานาชาติ
        จะต้องปิดสำานักงานในประเทศไทยลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กร


        แต่ด้วยความรักในองค์กรและงานพัฒนาของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายไทย ได้ลงความเห็น
        ร่วมกันว่าน่าจะรวมตัวกันทำางานด้านพัฒนาอย่างที่เคยทำามา จึงมีการหารือถึงความ
        เป็นไปได้ และในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนสถานะจากองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ

        ให้กลายเป็นองค์กรท้องถิ่น โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่คนทำางานเป็นคนไทย


        15 สิงหาคม 2540 มูลนิธิรักษ์ไทยจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรใหม่ขึ้น โดยกำาหนดวิสัยทัศน์
        องค์กรไว้ว่า เป็นองค์กรที่มุ่งหวังจะเห็นประชาสังคมมีอ�านาจในการก�าหนดอนาคต
        ตนเอง ทุกคนได้รับสิทธิและความเสมอภาคในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการเสริม
        ศักยภาพชุมชน ในระยะเวลาต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การแคร์นานาชาติ


        ที่ผ่านมา  มูลนิธิรักษ์ไทยทำางานในโครงการหลัก 5  ด้าน  เพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากร
        ที่หลากหลายทั่วทั้งประเทศ ซึ่งงานเหล่านั้นประกอบด้วย




        10  ผู้หญิงก้าวเดิน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17