Page 11 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 11

๔.    การประชุมผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปคหรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

            (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)

                   ๔.๑ การประชุมผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจ าปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูง
            ในห้วงสัปดาห์ผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

            กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการปิดฉากการเป็นเจ้าภาพเอเปค ปี ๒๕๖๕ ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์

            เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” หรือ “Open Connect Balance” อย่างสมบูรณ์หลังจากที่ได้จัดการประชุมต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี
            ประกอบด้วย การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ๔ ครั้ง ซึ่งครอบคลุมกลไกการประชุมของคณะท างานต่าง ๆ

            ประมาณ ๔๐ กลุ่ม และการประชุมระดับรัฐมนตรี รายสาขา ๘ สาขา ได้แก่ การค้า การท่องเที่ยว ป่าไม้ สาธารณสุข
            สตรี SMEs ความมั่นคงทางอาหาร และการคลัง

                        ประเทศไทยต้อนรับผู้น า ๑๓ เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค (ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี

            สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม)
            และผู้แทนของผู้น า ๗ เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค (สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เม็กซิโก สาธารณรัฐเกาหลี เปรู สหพันธรัฐ

            รัสเซีย และจีนไทเป) รวมทั้งแขกพิเศษจาก ๒ ประเทศ คือ นายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
            ฝรั่งเศส และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักร

            ซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนผู้เข้าร่วมประชุมและสื่อต่างชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า ๔,๐๐๐ คน ถือเป็นครั้งแรกในรอบ ๔ ปี

            ที่ผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปคได้เดินทางมาประชุมร่วมกัน และเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ ๓ ปี ที่ไทยได้ต้อนรับผู้มาเยือน
            จ านวนมากเช่นนี้ หลังจากเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งการประชุมผู้น าฯ ประกอบด้วย

            (๑) การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ ๓๓ (๒) การหารือระหว่างผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปคกับแขกพิเศษ และ (๓) การประชุม

            ผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๒๙ นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานจ านวนมาก เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
            ของภาคเอกชน เยาวชน และเปิดโอกาสให้มีการน าเสนอศักยภาพ นวัตกรรม และภูมิปัญญาของไทยในมิติต่าง ๆ

                   ๔.๒ ผลการประชุมที่ส าคัญ และกิจกรรมคู่ขนาน
                        ๔.๒.๑ การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ ๓๓ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยมี

            นายดอน  ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์

            รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
            เป็นประธานร่วม แบ่งเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ (๑) การประชุมเต็มคณะ

            หัวข้อ “การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุมและยั่งยืน”
            (๒) การหารือในช่วงอาหารกลางวัน หัวข้อ “การฟื้นฟู

            ความเชื่อมโยงในภูมิภาค” และ (๓) การประชุมเต็มคณะ

            หัวข้อ “การค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างและยั่งยืน”
            โดยที่ประชุมสนับสนุนประเด็นส าคัญในการเป็นเจ้าภาพเอเปค

            ของไทย การฟื้นฟูการเดินทางที่ปลอดภัย การปรับโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

            เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต รวมถึงแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
            (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) หรือเศรษฐกิจ BCG ที่สร้างโอกาสความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจ





               รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
             รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
             (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕)                                                              ๗   7
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16