Page 14 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 14
๔.๔ ความส าเร็จของการประชุมผู้น าเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๒๙ และการเป็นเจ้าภาพเอเปคปี ๒๕๖๕
ประเทศไทยได้ผลักดันให้เอเปค ๒๕๖๕ บรรลุผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ๓ ประการ ตามเป้าหมาย ดังนี้ (๑) เปิดกว้าง
สร้างสัมพันธ์ (Open) ริเริ่มการทบทวนการหารือเรื่องการขับเคลื่อนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free
Trade Area of the Asia Pacific: FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-๑๙ และบรรลุการจัดท าแผนงานขับเคลื่อนที่ต่อเนื่อง
หลายปีในเรื่องดังกล่าว (ค.ศ. ๒๐๒๓ - ๒๐๒๖) ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade
and Investment: CTI) ของเอเปค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการรับมือประเด็นการค้าการลงทุนใหม่ ๆ ในบริบท
ของโลกยุคหลังโควิด-๑๙ เช่น การค้าและเศรษฐกิจดิจิทัล e-commerce การค้าและสิ่งแวดล้อม ความเชื่อมโยง
ของห่วงโซ่อุปทาน การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยเน้นการเสริมสร้างศักยภาพ
และลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงโอกาส
ทางเศรษฐกิจจากการค้าการลงทุนที่เปิดกว้างและเสรีได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งประเทศไทยจะร่วมกับเขตเศรษฐกิจสมาชิก
ขับเคลื่อนการด าเนินการตามแผนงานดังกล่าว และติดตามผลผ่าน CTI และรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคทุกปี
และในปลายปี ๒๕๖๙ CTI จะทบทวนรายละเอียดและกรอบเวลาของแผนงานดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้
หน่วยสนับสนุนด้านนโยบาย (Policy Support Unit: PSU) ของเอเปคจะประเมินความคืบหน้าการด าเนินการเรื่อง
FTAAP ทุก ๆ สองปี (๒) เชื่อมโยงกัน (Connect) นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ข้อจ ากัดหรืออุปสรรค
ของการเดินทางข้ามพรมแดนท าให้เอเปคเสียโอกาสทางการค้าไปถึงประมาณ ๕ - ๗ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
และสูญเสียกิจกรรมทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑.๒ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยสามารถผลักดัน
การจัดตั้งคณะท างานเฉพาะกิจในเรื่องดังกล่าวและบรรลุข้อริเริ่มที่เป็นรูปธรรมหลายประการ เพื่ออ านวยความสะดวก
และกระตุ้นการเดินทางและการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน เช่น การจัดท าระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมระเบียบและข้อจ ากัด
การเดินทางในเอเปค การจัดท าหลักการเพื่อส่งเสริมการยอมรับใบรับรองการฉีดวัคซีนระหว่างกัน การเสนอให้เอเปค
มีกลไกการท างานเพื่อรับมือกับวิกฤตในอนาคต การผลักดันการออกบัตรเดินทางนักธุรกิจเอเปค (APEC Business
Travel Card: ABTC) ให้ครอบคลุมนักธุรกิจรายย่อยมากขึ้น เป็นต้น โดยไทยจะด าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อออกบัตร
ABTC ให้ครอบคลุมมากขึ้น และผลักดันให้เอเปคสานต่องานด้านการเดินทางที่ปลอดภัยในปี ๒๕๖๖ ที่สหรัฐอเมริกา
เป็นเจ้าภาพต่อไป และ (๓) สู่สมดุล (Balance) ประเทศไทยได้วางรากฐานให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน โดยเฉพาะการรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพมหานครว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว” เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐาน
และระบุเป้าหมายการท างานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งเป็น
“ภาพจ าแห่งความส าเร็จ” ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปีนี้ โดยเน้นให้เอเปคมุ่งส่งเสริมการค้าและการลงทุน
ควบคู่ไปกับการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการด าเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพมหานคร
ภายในประเทศให้เกิดความคืบหน้าผ่านความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะประสานงาน
กับคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green
Economy: BCG Model) เพื่อผลักดันการด าเนินการอย่างบูรณาการภายใต้กลไกจตุภาคี ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ
ภาคเอกชน สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
10 (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
๑๐