Page 17 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 17

๕.    สรุปผลการด าเนินงานการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

             ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ไปสู่การประกาศเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง

                   ในปี ๒๕๖๕ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายมากขึ้น จ านวนยอดผู้ติดเชื้อยืนยัน
             ลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราผู้เสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่คงตัว โดยรัฐบาลได้วางแผนการรับมือการแพร่ระบาดของ

             โรคโควิด-๑๙ และได้ปรับมาตรการต่าง ๆ ดังนี้

                   ๕.๑ ปรับแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อ
             ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ มีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                       ๑) เปลี่ยนการแยกกักผู้ติดเชื้อเป็นการแนะน าการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ
                       ๒) ปรับการให้บริการทางการแพทย์แบบผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของ

             แพทย์ในการประเมินความเสี่ยงต่อโรครุนแรง

                       ๓) ปรับค าแนะน าในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล (Admission)
                       ๔) ปรับการให้ยาต้านไวรัสในกลุ่มอาการต่าง ๆ

                       ๕) ปรับค าแนะน าในการปฏิบัติตนส าหรับผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙
                   ๕.๒ มาตรการรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อป้องกันควบคุมโรคโควิด-๑๙ จ านวน ๓ เรื่อง ดังนี้

                       ๑) มาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-๑๙ ของประเทศไทยส าหรับผู้เดินทาง

             เข้าประเทศให้มีการบูรณาการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว คมนาคม ต่างประเทศ สาธารณสุข และหน่วยงานอื่น
             ที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมดูแลนักท่องเที่ยวและมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น เฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้เดินทาง

             ที่มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจให้ได้รับการตรวจด้วยตนเอง (Antigen Test Kit: ATK) และการตรวจด้วยวิธี Real

             Time PCR (RT-PCR) ตรวจสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-๑๙ เพิ่มกลไกการรายงานผ่านเว็บไซต์กรมควบคุมโรค เฝ้าระวัง
             และตรวจสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-๑๙ ในน้ าเสียจากเครื่องบิน เป็นต้น

                       ๒) แนวทางการท าประกันภัยส าหรับนักท่องเที่ยว เน้นผู้เดินทางจากประเทศที่ก าหนดให้ขากลับประเทศ
             ต้นทางจากจีนและอินเดียต้องมีผลตรวจ RT-PCR คือ โดยต้องมีประกันสุขภาพวงเงินไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

             ครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-๑๙ ตลอดช่วงระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก ๗ วัน กรมธรรม์ประกันภัย

             คุ้มครองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย (เงื่อนไขตามที่ก าหนด) ส าหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือหรือนักเรียน
             ให้ใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน โดยเจ้าหน้าที่

             ด่านควบคุมโรคติดต่อจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้เดินทางจากประเทศดังกล่าว หากพบว่า
             ไม่มีเอกสารประกันสุขภาพต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง

                       ๓) แนวทางปฏิบัติส าหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันควบคุมโรคโควิด-๑๙ เน้นผู้ประกอบการ

             ท่องเที่ยวและประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-๑๙ ครบ ๔ เข็ม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการป้องกันการป่วยหนัก
                   ๕.๓ แนวทางการจัดบริการผู้ป่วยส าหรับสถานพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นโรคติดต่อ

             ที่ต้องเฝ้าระวัง ผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ส่วนใหญ่รับบริการทางการแพทย์แบบ OPSI (Out-Patient With Self-Isolation)

             แต่ยังมีผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ บางส่วนที่ต้องเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน การให้บริการผู้ป่วยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ
             ต่อผู้ป่วยอื่น ๆ ที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาล ดังนั้น จึงต้องมีการบริหารจัดการทั้งระบบ ประกอบด้วย คลินิกตรวจโรค

             ระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) การดูแลผู้ป่วยนอกทั่วไป (OPD non-COVID-19) ห้องฉุกเฉิน (ER) ห้องผ่าตัด (OR)


               รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
               รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
                                                                                                           13
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕)                                                           ๑๓
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22