Page 15 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 15

๔.๕ ประโยชน์ที่คนไทยได้รับ
                          ๔.๕.๑ เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ได้รับการประเมินว่าการประชุมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอเปคได้น า

              เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยกว่า ๒ หมื่นล้านบาท และการลงทุนที่จะมีขึ้นของภาคเอกชน โดยเฉพาะข้อตกลง

              เพื่อพัฒนาโครงการไฮโดรเจนสีเขียวระหว่างภาคเอกชนของซาอุดีอาระเบียกับบริษัท ปตท. จ ากัด (มหาชน)
              และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มูลค่า ๒.๕ แสนล้านบาท

                          ๔.๕.๒ เพิ่มบทบาทไทยในเวทีโลก และกระชับความร่วมมือทวิภาคีในมิติต่าง ๆ เกิดโอกาสในการหารือ

              ทวิภาคีระดับผู้น าที่น าไปสู่ข้อริเริ่มและความตกลงต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและประชาชนไทย โดยในห้วง
              การประชุมเอเปคได้หารือทวิภาคีกับเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ (๑) ต้อนรับการเยือนทวิภาคีอย่างเป็นทางการ จ านวน

              ๓ เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย และจีน (๒) หารือทวิภาคีกับ ๗ เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ประธานาธิบดี
              แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีแคนาดา นายกรัฐมนตรีเครือ

              รัฐออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้หารือกับกรรมการ
              ผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งน าไปสู่การลงนามเอกสารผลลัพธ์ ๑๕ ฉบับ เพื่อกระชับและวางรากฐาน

              ความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา รับมือความท้าทาย

              และผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติของไทย อาทิ การค้า การลงทุน รวมถึงในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
              ความเชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการฟื้นฟูการท่องเที่ยว

              และการเดินทางระหว่างกัน

                          ๔.๕.๓ การส่งเสริมความยั่งยืนภายในประเทศผ่านเป้าหมายกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (๑) จุดประกาย
              ความสนใจเรื่องการด าเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบในไทย (๒) ขับเคลื่อนการสร้างเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน

              และครอบคลุมในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม (๓) วางแนวทางและกรอบแนวคิดในการก าหนดนโยบายเศรษฐกิจ

              ระหว่างประเทศในระดับโลกด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
              และการเผชิญความท้าทายด้านความมั่นคงด้านอาหาร น้ า สาธารณสุข และพลังงาน โดยมีการน าโมเดลเศรษฐกิจ

              BCG ของไทยไปขยายผลต่อในเวทีความร่วมมือต่าง ๆ (๔) ส่งเสริมและอ านวยความสะดวกการค้าและการลงทุน
                                                               และยกระดับมาตรฐานในการประกอบธุรกิจในสาขา

                                                               ที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG น าไปสู่การลงทุน

                                                               สร้างงานและพัฒนานวัตกรรมในห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจ
                                                               BCG ทั้งระบบและ (๕) ในระยะยาว ผลประโยชน์

                                                               ที่ประเทศไทยได้รับทั้งหมดข้างต้นจะท าให้สามารถแสดง
                                                               บทบาทน าในเรื่องดังกล่าวในเวทีระหว่างประเทศ

                                                               และช่วยเพิ่มอ านาจการต่อรองด้านการต่างประเทศ

                                                               โดยเฉพาะในบริบทการแข่งขันระหว่างมหาอ านาจ










               รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔๔
               รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่
                                                                                                           11
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
               (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕))                                                          ๑๑
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20