Page 21 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 21
๖.๒.๒ การด าเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง การบริหารจัดการ
การท างานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลัง
การผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพื่อเป็นการผ่อนผันให้คนต่างด้าว
กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความส าคัญในการฟื้นฟูประเทศภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคคลี่คลาย
ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อท างานต่อไปได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้กับนายจ้าง/สถานประกอบการที่ยังคงมีความต้องการ
และมีความประสงค์จ้างแรงงานเหล่านั้นต่อไป โดยที่แรงงานยังคงอยู่ในการก ากับและบริหารจัดการของหน่วยงาน
ภาครัฐ ทั้งในมิติความมั่นคงและการสาธารณสุข และเป็นผลให้คนต่างด้าวได้รับการจ้างงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ได้รับความคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และการคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ โดยมีการอนุญาต
ให้กลุ่มแรงงานที่อยู่ในราชอาณาจักรและท างานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ อยู่ในราชอาณาจักรและท างานได้
ต่อไปไม่เกินวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ จ านวน ๑๔๕,๕๙๙ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕)
นอกจากนี้ ได้ด าเนินการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมาให้แก่
แรงงานเมียนมาที่ด าเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ จ านวน ๑๕๕,๒๕๑ คน เพื่อให้
แรงงานเมียนมาที่มีเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ฉบับเดิม และที่ไม่มีเอกสารประจ าตัว
ได้รับสิทธิการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตท างานโดยถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับการคุ้มครอง
และมีสิทธิประโยชน์สวัสดิการคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ
๖.๓ มาตรการการคลังที่รัฐบาลได้ด าเนินการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ของโควิด-๑๙ และมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้า
๖.๓.๑ มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มก าลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
และประชาชนทั่วไป
๑) โครงการเพิ่มก าลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรสวัสดิการฯ) เป็นการช่วยเหลือ
วงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จ าเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) ให้แก่
ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จ านวน ๑๔ ล้านคน โดยด าเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วรวม ๕ ระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยา
และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (๑) ระยะที่ ๑ เดือนตุลาคม -
ธันวาคม ๒๕๖๓ ช่วยเหลือในวงเงิน จ านวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๒) ระยะที่ ๒ เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๔
ช่วยเหลือในวงเงิน จ านวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๓) ระยะที่ ๓ เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือ
ในวงเงิน จ านวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และระยะที่ ๓ เพิ่มเติม เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือ
ในวงเงิน จ านวน ๓๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๔) ระยะที่ ๔ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน
จ านวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และ (๕) ระยะที่ ๕ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน จ านวน
๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน
๒) โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิภาครัฐ
ร่วมจ่ายร้อยละ ๕๐ ส าหรับการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป บริการ (นวด สปา ท าผม ท าเล็บและบริการขนส่ง
สาธารณะ) ไม่รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ บัตรก านัล บัตรเงินสด และบริการรูปแบบอื่น ๆ
ที่เป็นการช าระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้า โดยจะต้องช าระเงินผ่านระบบช าระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
17
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕) ๑๗
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕)