Page 112 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 112
๘.๓ นโยบายเร่งด่วนที่ ๓ มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
๘.๓.๑ การเร่งรัดจัดท างบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อเป็นกลไกการพัฒนา
ประเทศและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
และสังคมให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยได้จัดท ายุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการจัดท างบประมาณให้สอดคล้องและตอบสนอง
ต่อเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
และนโยบายส าคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการส าคัญ ๔๐๖ โครงการ การจัดท างบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
แบบพุ่งเป้า และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ตลอดจนการให้
ความส าคัญกับผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งให้ความส าคัญกับ
การจัดท างบประมาณในลักษณะบูรณาการทั้ง ๓ มิติ ประกอบด้วย มิติกระทรวง/หน่วยงาน (Function) มิตินโยบาย
(Agenda) และมิติพื้นที่ (Area) ดังนี้ (๑) จัดท าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จ านวน ๓,๑๘๕,๐๐๐ ล้านบาท ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
และอยู่ภายในกรอบพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ (๒) จัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยรับงบประมาณ จ านวน ๑,๙๑๐,๖๘๙.๖๒๙๔ ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ ๕๙.๙๙ ของงบประมาณทั้งสิ้น ๓,๑๘๕,๐๐๐ ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) (๓) หน่วยรับ
งบประมาณสามารถด าเนินภารกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบระยะเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด
ที่สอดคล้องและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายส าคัญของรัฐบาล
และ (๔) จัดท ารายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ
และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ
๘.๓.๒ มาตรการรองรับการกีดกันทางการค้าและมาตรการสนับสนุนเพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออก
ได้ด าเนินการ (๑) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยก าหนดกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องกับตลาดเป้าหมาย เช่น
เจาะตลาดเชิงลึกเข้าสู่เมืองหลักและเมืองรองที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ มีผู้ประกอบการไทยได้รับการส่งเสริม
จ านวน ๘๖๔ ราย สามารถสร้างมูลค่าการค้า จ านวน ๒,๙๓๘.๔๘ ล้านบาท ส่งเสริมตลาดพาณิชย์ดิจิทัล
ผ่าน Thaitrade.com มีความต้องการซื้อผ่านระบบ Buying Request จ านวน ๑๔๘ รายการ เกิดมูลค่าการซื้อขาย
ผ่านระบบ จ านวน ๓๑๗.๖๐ ล้านบาท และมูลค่าการซื้อขายผ่าน Thaitrade.com และเครือข่ายพันธมิตรออนไลน์
จ านวน ๙๕๑.๔๓ ล้านบาท (๒) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร ได้จัดกิจกรรมจับคู่
เจรจาธุรกิจสินค้าเกษตร/สินค้าผลไม้ และกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าผลไม้ในต่างประเทศ มีผู้ประกอบการไทย
ได้รับการส่งเสริม จ านวน ๓,๑๕๒ ราย เกิดการจับคู่ธุรกิจ จ านวน ๑,๑๐๐ คู่ สร้างมูลค่าการค้ารวม ๒๗,๑๘๘.๗๒
ล้านบาท และ (๓) ยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้มีความพร้อมในการส่งออก และรับมือกับเศรษฐกิจยุคใหม่
ได้อย่างเป็นระบบและครบวงจร เช่น พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ From Gen Z to be CEO การพัฒนา
ผู้ส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG) มีผู้ประกอบการได้รับการพัฒนา จ านวน
๒๐,๒๔๔ ราย
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
108 (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕)
๑๐๘