Page 10 - คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus
P. 10
2.2 องค์ประกอบกำรประเมิน
การด�าเนินงาน NCD Clinic Plus เป็นแนวทางการประเมินตนเองของโรงพยาบาล
เพื่อพัฒนาการด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในคลินิก ซึ่งเกณฑ์ประเมินประกอบด้วย
การประเมิน 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 กำรประเมินกระบวนกำรพัฒนำคุณภำพ เป็นการประเมินตนเองเพื่อพัฒนา
ระบบบริการของโรงพยาบาล ตาม 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ทิศทางและนโยบาย ระบบสารสนเทศ
การปรับระบบและกระบวนการบริการ ระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
และการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน
ส่วนที่ 2 กำรประเมินผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริกำร เป็นการประเมินผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริการที่
สะท้อนกระบวนการและผลลัพธ์การด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและภาวะแทรกซ้อน
ประกอบด้วยตัวชี้วัดโรค DM, HT, CVD และ CKD รวมจ�านวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 13 ตัวชี้วัด ได้แก่
( 1) ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน
( 2) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL
( 3) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL <100 mg/dl
( 4) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน�้าตาลในเลือดได้ดี
( 5) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตควบคุมได้ตามเกณฑ์
( 6) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วน [BMI ≥25 กก./ตร.ม.] ลดลงจาก
ปีงบประมาณที่ผ่านมา
( 7) ร้อยละของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน
( 8) ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
( 9) ร้อยละของผู้ที่มีค่าความดันโลหิตตัวบนเฉลี่ย (SBP) ≥ 180 มม.ปรอท และ/หรือ
ค่าความดันโลหิตตัวล่างเฉลี่ย (DBP) ≥ 110 มม.ปรอท จากการวัดความดันโลหิตซ�้าในโรงพยาบาล และ
ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง (ภายใน 7 วัน)
(10) ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
( 11) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการค้นหาและ
คัดกรองโรคไตเรื้อรัง
(12) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูงที่มี CVD Risk ≥ 20% ในช่วง
ไตรมาส 1, 2 และมีผล CVD Risk ลดลงเป็น <20% ในไตรมาส 3, 4
(13) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูง ที่เป็น CKD 3-4 ชะลอการ
ลดลงของ eGFR ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนที่ 3 กำรประเมินกำรพัฒนำคุณภำพงำนอย่ำงต่อเนื่อง (CQI) เป็นการประเมิน
กระบวนการพัฒนางานที่จะท�าให้กระบวนการท�างานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวนการ
ทบทวน ปัญหาสาเหตุ หรือโอกาสในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการด�าเนินงาน และด�าเนินการพัฒนา
คุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ กระบวนการพัฒนาคุณภาพ ผลลัพธ์
การพัฒนาคุณภาพ และการน�าไปใช้ประโยชน์และความคุ้มค่า
3 คู่มือแนวทางการด�าเนินงาน N C D Clinic Plus