Page 8 - คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus
P. 8

แนวทางการด�เนินงาน






               N C D                              Clinic Plus









            1.      ความเป็นมาของการด�าเนินงาน NCD Clinic Plus



                 โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 41 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 71
          ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ส�าคัญ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน
          และโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการส�ารวจสุขภาพประชาชน
          ไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ

          14 ล้านคน (ร้อยละ 25.4) เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเกือบครึ่งหนึ่ง
          (ร้อยละ 48.8) ไม่ทราบว่าตนเองป่วย พร้อมกันนั้นยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 5 ล้านคน
          (ร้อยละ 9.5) 1 ใน 3 คน (ร้อยละ 30.6) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน และมีเพียง 1 ใน 4 คน
          (ร้อยละ 26.3) เท่านั้น ที่สามารถควบคุมสภาวะของโรคได้ การพัฒนาคุณภาพบริการเป็นอีก
          หนึ่งบทบาทที่จ�าเป็นในการดูแลและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถ
          เข้าถึงบริการสุขภาพที่ส�าคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดโรค รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย
          ให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

                กรมควบคุมโรค โดยกองโรคไม่ติดต่อ พัฒนาคุณภาพการให้บริการของคลินิกโรคไม่ติดต่อ
          ด้วยการขับเคลื่อนการด�าเนินงานคลินิก NCD คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2557 โดยยึดหลักการของ
          Chronic Care Model ร่วมกับ PMQA ภายใต้วงจรการพัฒนางานคุณภาพ PDCA (Plan Do Check Act)
          เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการด�าเนินงาน เพิ่มคุณภาพให้เกิดการพัฒนาอย่าง

          ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการประเมินกระบวนการ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ทิศทางและนโยบาย ระบบสารสนเทศ
          การปรับระบบ และกระบวนการบริการ ระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
          และการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน ปี 2560 เพิ่มการประเมินเชิงผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริการจึงเป็นที่มา
          ของชื่อ NCD Clinic Plus ปี 2562 เพื่อให้การด�าเนินงานครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น ได้บูรณาการ

          เกณฑ์ประเมินร่วมกับการด�าเนินงานคลินิกชะลอไตเสื่อม ปี 2563 พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพ
          NCD Clinic Plus ให้เป็นการประเมินผ่านระบบ Online และเริ่มใช้ในปี 2564 เพื่อลดภาระงาน
          ของเจ้าหน้าที่ (Work load) เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (Real time) รวมถึงสามารถตรวจสอบ
          ความถูกต้องได้อย่างแม่นย�า เป็นประโยชน์ต่อการติดตามและวิเคราะห์การด�าเนินงานป้องกันควบคุม

          โรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลในภาพจังหวัด เขต ประเทศ ปี 2565 พัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณภาพ



           1    คู่มือแนวทางการด�าเนินงาน N C D  Clinic Plus
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13