Page 5 - คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus
P. 5
ค�น�
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย
ทั้งในมิติของจ�านวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาจากพฤติกรรมสุขภาพ
ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน�้าตาลในเลือดสูง
ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง น�าไปสู่การเกิดโรค ถ้าหากไม่ให้ความส�าคัญกับการ
จัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ส่วนส�าคัญในการ
จัดการปัญหาสุขภาพดังกล่าว คือ การพัฒนาคุณภาพบริการของสถานบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการ
ปัญหาจากโรคไม่ติดต่อ และสนับสนุนให้เครือข่ายสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ
ทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ
กรมควบคุมโรค โดยกองโรคไม่ติดต่อ จึงได้พัฒนาการจัดการระบบบริการสุขภาพของคลินิก
โรคไม่ติดต่อด้วยกลไกการขับเคลื่อนผ่านการด�าเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2559
และพัฒนาการด�าเนินงาน NCD Clinic Plus ในปี 2560 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการประเมินตนเอง
เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อของสถานบริการสาธารณสุข โดยใช้หลักการ
Chronic Care Model ร่วมกับ PMQA ภายใต้วงจรการพัฒนางานคุณภาพ PDCA (Plan Do Check Act)
มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการด�าเนินงาน เพิ่มคุณภาพให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการประเมิน
เชิงกระบวนการตาม 6 องค์ประกอบ และการประเมินผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริการที่สะท้อนกระบวนการและ
ผลลัพธ์การดูแลรักษาของสถานบริการสาธารณสุข ปี 2562 ได้บูรณาการร่วมกับการด�าเนินงานคลินิก
ชะลอไตเสื่อมบางส่วน เพื่อลดความซ�้าซ้อนในการประเมินคุณภาพการด�าเนินงาน ทั้งยังเป็นการ
สนับสนุนการจัดบริการของคลินิกโรคไม่ติดต่อให้มีคุณภาพ และสามารถด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรค
ไม่ติดต่อ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอย่างเป็นองค์รวม ปี 2563-2564 ด�าเนินการพัฒนาแบบประเมิน
คุณภาพ NCD Clinic Plus Online เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการด�าเนินงาน และลดระยะเวลาการรวบรวม
ผลการประเมิน ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาล โดยสามารถบันทึกผลการประเมินผ่านช่องทางออนไลน์
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการติดตามและวิเคราะห์การด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อของ
โรงพยาบาลในภาพจังหวัด เขต และประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และในปี 2565 เพิ่มการ
ประเมินส่วนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง (CQI) ที่น�าวงจร PDCA มาปรับใช้ในการด�าเนินงาน
NCD Clinic เพื่อแก้ปัญหาปรับปรุง พัฒนางาน หรือการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ส�าหรับปี 2566 กองโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ด�าเนินการ
พัฒนาเกณฑ์การประเมิน NCD Clinic Plus โดยเน้นการปรับตัวชี้วัดบริการที่สะท้อนกระบวนการและ
ผลลัพธ์การด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการ
ซึ่งจะน�าไปผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชนที่ดีขึ้น
คู่มือแนวทางการด�าเนินงาน N C D Clinic Plus ก