Page 5 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 5
ค�ำน�ำ
NCD
โรคไม่ติดต่อ (Non - Communicable Diseases) หรือโรคเอ็นซีดี (NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่มี
ความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการด�าเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด การไม่ออกก�าลังกาย
ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการน�า
เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในวิถีชีวิตมากขึ้น ท�าให้การเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงโรค NCD เป็นสิ่งง่าย ส่งผลให้กลุ่มโรค NCD
เป็นปัญหาสุขภาพที่ส�าคัญของโลกและของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ล้านคน คนไทย 1 ใน 4 คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โดยเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5 ล้านคน และมีเพียง 1 ใน 5 คนเท่านั้น
ที่สามารถควบคุมสภาวะของโรคได้
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เล็งเห็นความส�าคัญจึงได้พัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพด้าน
โรคไม่ติดต่อ ด้วยการขับเคลื่อนการด�าเนินงาน NCD อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักกระบวนการ Chronic Care
Model และ PMQA รวมถึงใช้กลไกการประเมินเชิงผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริการ เป็นเครื่องมือก�ากับติดตาม
คุณภาพบริการการด�าเนินงานโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน ตัวชี้วัดโรคความดันโลหิตสูง ตัวชี้วัด
โรคเบาหวาน และ/หรือโรคความดันโลหิตสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐาน
ไปทิศทางเดียวกันกับข้อมูลทางวิชาการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการพัฒนา ปรับแก้ ทบทวน
รายละเอียดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบันและตอบสนองตามแผนงานนโยบายกระทรวง กรม กอง
และเครือข่าย โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ,
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, Health Data Center (HDC), ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,
Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากตัวชี้วัดมีจ�านวนมาก
และมีการปรับเปลี่ยนบ่อย ประกอบกับการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานบ่อย ท�าให้ไม่ทราบที่มา หลักการและเหตุผล
เกิดการผิดพลาดในการด�าเนินงาน ส่งผลให้คุณภาพบริการลดลง จากปัญหาดังกล่าว กองโรคไม่ติดต่อ
จึงได้จัดท�าคู่มือทบทวนตัวชี้วัดเพื่อก�ากับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ผู้รับผิดชอบงานด้านโรคไม่ติดต่อ ทุกองค์กรภายใต้กระทรวงสาธารณสุข
รวมถึงเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทราบถึงความเป็นมาของตัวชี้วัด ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยบทสรุปผู้บริหาร
ความเป็นมา ผลการด�าเนินงานและรายละเอียดการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 – 2565)
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง Template ตัวชี้วัดการด�าเนินงานฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมถึงค�าถาม
ที่พบบ่อยจากการปฏิบัติงาน โดยสามารถน�าข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
กองโรคไม่ติดต่อ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือฯ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อ
ในการน�าข้อมูลไปประกอบการวางแผนการด�าเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ
น�าไปสู่การลดความรุนแรงของโรคและลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อไป
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
กันยายน 2565
ก