Page 6 - จดหมายข่าวสภาการพยาบาล
P. 6

สาระน่ารู้





                 ถอดบทเรียน การเข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่  75


          ระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคม 2565 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส





                                                                              รองศาสตราจารย์ ดร. ภัทราภรณ์ ภทรสกุล
                                                               กรรมการสภาการพยาบาล ชุดที่ 10 วาระ พ.ศ. 2565-2569

                                                        ผู้อ�านวยการศูนย์ JBIC คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



            ในแต่ละปีองค์การอนามัยโลกจะมีการจัดประชุมสมัชชาอนามัยโลก

       (world health assembly) ขึ้นปีละครั้งในเดือนพฤษภาคม เพื่อให้คณะ

       กรรมการจากตัวแทนของประเทศสมาชิกซึ่ง ณ ปัจจุบันมีทั้งหมด 194

       ประเทศ จากทั้งหมด 6 ทวีป และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้มาประชุมร่วมกัน
       ในการก�าหนดนโยบายทางสุขภาพ แต่งตั้งผู้อ�านวยการใหญ่ ตรวจสอบและ

       ให้ข้อเสนอแนะต่อการท�างานขององค์การอนามัยโลก โดยประเทศสมาชิก

       แต่ละประเทศจะมีการน�าเสนอวาระที่รับผิดชอบ (agenda) ให้กรรมการ (board) พิจารณา โดยผลลัพธ์จากการประชุมได้แก่

       ข้อตกลงที่ผูกมัด (binding agreement) ข้อตกลงที่ไม่ได้ผูกมัด (non-binding agreement) ได้แก่ หลักเกณฑ์ (code)
       มติ (resolution) กลยุทธ์โลก (global strategy) แผนปฏิบัติโลก (global action plan) แนวปฏิบัติโลก (global guidelines)

       และการตัดสิน (decision) ต่อเนื้อหาและกระบวนการ โดยหลังจากนั้นประเทศสมาชิกต้องน�าไปปฏิบัติ หรือน�าไปเป็น

       แนวทางในการก�าหนดนโยบายในประเทศของตน และปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วม

       ประชุมกับคณะผู้แทนไทยในนามของสภาการพยาบาลจึงนับเป็นประสบการณ์ที่มีค่า และมีความส�าคัญต่อวิชาชีพการพยาบาล
       และต่อนโยบายทางสุขภาพของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยปีนี้ ผู้นิพนธ์ได้เดินทางไปประชุมพร้อมกับ รองศาสตราจารย์

       ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล โดยการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 75 นี้ ได้จัดขึ้นที่ ตึก UN “Palais

       Des Nations” ตั้งแต่วันที่ 22-28 พ.ค. 2565 โดยมี theme ในการประชุมปีนี้ได้แก่ peace for health and health for

       peace



       บทบาทของพยาบาลในนามของตัวแทนสภาวิชาชีพ

            ก่อนเข้าร่วมประชุมได้มีการเตรียมความพร้อมคณะผู้แทนไทยโดยเฉพาะสมาชิกใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เข้าร่วม

       ประชุมมาก่อน โดยทีมส�านักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กองการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข จากการประชุม
       ทั้งหมด 3 ครั้งผ่านทางออนไลน์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Global health diplomacy workshop” โดยกระบวนการ

       ท�างานนั้นมีการท�างานร่วมกันระหว่าง ที่ปรึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง โค้ช และสมาชิกใหม่ ในการเตรียมตัวเพื่อเสนอวาระที่ได้รับ

       ผิดชอบ ทั้งนี้ สภาการพยาบาล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กองการพยาบาล และ ส�านักงานพัฒนานโยบาย

       สุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ได้รับผิดชอบ 3 หัวข้อ ได้แก่ 1) วาระก�าลังคนทางสุขภาพ (human resource for health)



      6 6     จดหมายข่าวสภาการพยาบาล                                             ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2565ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 เมษ�ยน - มิถุน�ยน 2565
              จดหมายข่าวสภาการพยาบาล
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11