Page 7 - จดหมายข่าวสภาการพยาบาล
P. 7

สาระน่ารู้ (ต่อ)



       2) วาระการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับของเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก (staffing matters) และ 3) วาระรายงานผล

       การประเมินองค์การอนามัยโลกโดยทีมภายในและภายนอก (Audit and oversight matters) โดยสภาการพยาบาล
       ได้รับผิดชอบหลักในหัวข้อ วาระก�าลังคนทางสุขภาพ นอกจากนี้ สภาการพยาบาลยังได้เป็นตัวแทนในการน�าเสนอท่าที

       ของประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO, South-East Asia Region), (Reginal

       one voice; ROV) ในประเด็นก�าลังคนด้านสุขภาพ (Human resource for health) นับว่าเป็นบทบาทที่ส�าคัญและ

       เป็นประสบการณ์ที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง โดยวาระที่น�าเสนอได้รับการรับรองจากกรรมการโดยไม่มีการแก้ไขใด ๆ



       บทบาทและท่าทีของประเทศไทย

            ผู้นิพนธ์ในนามของตัวแทนกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAR) ได้มีข้อเสนอให้ WHO และประเทศสมาชิก

       เร่งด�าเนินการใน 3 ประเด็นเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิของก�าลังคนด้านสุขภาพ
       ในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 และระยะฟื้นฟู ดังนี้

            1) เร่งการด�าเนินงานตามกลยุทธ์โลกด้านก�าลังคนด้านสุขภาพปี 2030

       โดยเพิ่มการลงทุนด้านการศึกษา การอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพ

       ในการให้บริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพ มีการจ้างงาน การกระจายก�าลังคนและ
       การคงอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้านคุณภาพการให้บริการในระดับ

       ปฐมภูมิ และในภาวะฉุกเฉิน หรือช่วงการระบาดของโรคอุบัติใหม่

            2) ให้แต่ละประเทศน�าหลักปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกในการสรรหาบุคลากรท�างานต่างประเทศอย่างเป็นธรรม

       (WHO global code of practice of international recruitment personnel) รวมถึงการน�าแนวทางการดูแลปกป้อง
       บุคลากรและผู้ดูแลด้านสุขภาพ (Global health and care worker compact) มาใช้เพื่อปกป้องสิทธิและส่งเสริม

       การท�างานที่ปลอดภัย การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการท�างาน การได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การค�านึงถึง

       ความเหมาะสมทางเพศสภาวะเพื่อเพิ่มการคงอยู่ของก�าลังคนในระบบ ทั้งนี้เนื่องจากร้อยละ 70 ของบุคลากรและผู้ดูแลทาง

       สุขภาพเป็นเพศหญิงและส่วนใหญ่เป็นพยาบาล
            3) ให้มีการติดตามข้อมูลด้านต่าง ๆ ของก�าลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ข้อมูลก�าลังคนด้านสุขภาพระดับชาติ

       เพื่อเป็นข้อมูลที่ส�าคัญในการก�าหนดนโยบายและวางแผนก�าลังคนให้มีจ�านวนเพียงพอและเหมาะสม โดยประเทศสมาชิก

       ควรมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อให้การบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและในภาวะฉุกเฉิน

       เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2573



       บทบาทและท่าทีของประเทศอื่น ๆ

            ประเทศสมาชิกได้ค�านึงถึงความขาดแคลนของบุคลากรและผู้ดูแลทางสุขภาพ และความส�าคัญในการลงทุนด้านก�าลังคน

       ทางสุขภาพ โดยเฉพาะการปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของ health and care workers ภายใต้การระบาดของโควิด-19
       โดยกลุ่มประเทศแอฟริกา ได้เน้นย�้าเรื่องหลักปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกในการสรรหาบุคลากรท�างานต่างประเทศ

       อย่างเป็นธรรม และการดูแลปกป้องบุคลากรและผู้ดูแลด้านสุขภาพ ประเทศเลบานอนได้เน้นย�้าเรื่องการลงทุน ด้านการศึกษา




                                                                                       จดหมายข่าวสภาการพยาบาล
       ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 เมษ                                                          จดหมายข่าวสภาการพยาบาล    7 7
       ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2565�ยน - มิถุน�ยน 2565
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12