Page 8 - จดหมายข่าวสภาการพยาบาล
P. 8
สาระน่ารู้ (ต่อ)
ที่มุ่งเน้นสมรรถนะเป็นฐาน และการดูแลในชุมชน ตลอดจนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ถึงแม้ว่าประเทศจะประสบปัญหาวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจก็ตาม ประเทศมาเลเซียมีความก้าวหน้าในการเพิ่มอัตราก�าลังคน
ทางสุขภาพ และเน้นย�้าเรื่องการปกป้องสิทธิ การท�างานที่ดี การปกป้อง การศึกษาต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพการบริการ
ทางสุขภาพ และทุกประเทศ ได้ยอมรับร่างข้อสรุป human resources for health และจะน�าแผนไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบท
ของแต่ละประเทศ
ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุข สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ
การท�างานในระดับประเทศ
1) เพิ่มการลงทุนเพื่อผลิตก�าลังคนทางสุขภาพโดยก�าหนดเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ ในแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการกระจาย โดยใช้มาตรการคัดเลือกนักเรียนในกลุ่มเฉพาะ เช่น พื้นที่ห่างไกล
ทุรกันดาร หรือ จากกลุ่ม Vulnerable เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ เข้ามาเรียนในระบบ รูปธรรมอาจจะเป็นโครงการ 1 อ�าเภอ
1 แพทย์, 1 ต�าบล 1 พยาบาล/ จนท.สาธารณสุข และ 1 หมู่บ้าน 1 caregiver/care worker ร่วมกับการให้ทุนการศึกษา
และมีระบบบริหารจัดการให้นักเรียนเหล่านั้นกลับไปท�างานในพื้นที่หลังจบการศึกษา
2) สร้างความเข้มแข็งการจัดการอบรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous professional development) โดยเน้นหลักสูตร
ที่มุ่งเน้นสมรรถนะเป็นฐาน (competency based-education) การศึกษาตลอดชีวิต (life-long learning) ผ่านกระบวนการ
Re-licensing ของสภา/องค์กรที่ก�ากับดูแลคุณภาพของวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรและผู้ดูแลทางสุขภาพมีศักยภาพเพียงพอ
ในการให้บริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพ เป็นหลักประกันให้กับประชาชนในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
3) เพิ่มอัตราการจ้างงานโดยเฉพาะในพยาบาลที่ยังท�างานนอกระบบจ�านวนมาก เนื่องจาก 70% ของบุคลากร
ทางสุขภาพเป็นผู้หญิงและส่วนใหญ่เป็นพยาบาล ที่ควรได้รับการปกป้องและส่งเสริมการท�างานที่ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมที่ดี
ในการท�างาน การได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การค�านึงถึงความเหมาะสมทางเพศสภาวะเพื่อเพิ่มการคงไว้
ของก�าลังคนในระบบ ตามแนวทางการดูแลปกป้องบุคลากรและผู้ดูแลด้านสุขภาพ (Global health and care worker
compact) โดยพัฒนาระบบการจ้างงานที่หลากหลายที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและจูงใจ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
4) เพิ่มการกระจายก�าลังคนและการคงอยู่อย่างเหมาะสมในบุคลากรในทีมสุขภาพโดยเฉพาะในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้านคุณภาพการให้บริการในระดับปฐมภูมิ โดยจัดระบบค่าตอบแทน และความก้าวหน้าของบุคลากร
ให้มีความเหมาะสม เพื่อก้าวสู่ภาวะสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2573
5) พัฒนาระบบข้อมูลก�าลังคนทางสุขภาพให้มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการก�าหนดนโยบายและวางแผนก�าลังคนให้มี
จ�านวนเพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้การบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและในภาวะฉุกเฉินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การท�างานในระดับนานาชาติ
1) ควรมีการหา partner ในการระดมทุนเพื่อการผลิตก�าลังคนทางสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลที่เป็นเสมือนกระดูกสันหลัง
ของทีมสุขภาพ ในรูปแบบการให้ทุนการศึกษาในระยะยาว และการอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง
2) ควรมีการพัฒนาโครงการความร่วมมือการผลิตก�าลังคนทางสุขภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน
8 8 จดหมายข่าวสภาการพยาบาล ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2565ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 เมษ�ยน - มิถุน�ยน 2565
จดหมายข่าวสภาการพยาบาล