Page 92 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 74 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564 : Thailand Engineering Journal
P. 92

จรรยาบรรณวิศวกร



                                         หมวดที่ ๔ ว่าด้วย ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ


             ข้อ ๖. วิศวกรต้องใช้ความรู้ และความชํานาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อสัตย์ เป็นธรรม รักษาผลประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้:

                 (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตในฐานะที่ตนเป็นตัวแทน หรือได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของงาน
                 (๒) เปิดเผยตนเองต่อเจ้าของงาน และผู้เกี่ยวข้องก่อนรับดําเนินการ เพื่อความโปร่งใส
                 (๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบธรรม ไม่ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ ไม่แอบแฝงด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใดๆ
                 (๔) ไม่เรียก หรือรับผลประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากค่างานตามวิชาชีพ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                 (๕) ไม่ปิดบังหรือซ่อนเร้นผลประโยชน์ต่อเจ้าของงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งตนมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลกระทบต่อธุรกิจของ
                    เจ้าของงาน  หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

                 (๖) ไม่รับทํางาน เดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอื่นทําอยู่ เว้นแต่เป็นการทํางานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้ง
                    ให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอื่นนั้น ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
                 (๗) ไม่รับทํางานเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับความ
                    ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรกกับได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว



                                           หมวดที่ ๕ ว่าด้วย ชื่อเสียง และผลงาน

             ข้อ ๗. วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากผลงาน โดยปฏิบัติตามจริยธรรม และจรรยาบรรณ โดยคํานึงถึงชื่อเสียง และวิชาชีพ

                 (๑) ไม่แอบอ้าง ไม่คัดลอก หรือไม่ดัดแปลงผลงานไม่ว่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของวิศวกรผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต
                 (๒) เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ ผลงาน และตําแหน่งหน้าที่ของตนเอง
                 (๓) แข่งขันเพื่อให้ได้งานอย่างยุติธรรม
                 (๔) ไม่เสนอหรือรับสิ่งตอบแทนใดๆ ที่ขัดต่อหลักกฎหมาย

                 (๕) มีความศรัทธา รักษาศักดิ์ศรี และสิทธิในวิชาชีพ เพื่อชื่อเสียง และผลงานวิศวกรรมที่ดี
                 (๖) ไม่โฆษณาหรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณาเกินขอบเขตและเกินความเป็นจริงในความรู้ความสามารถของตน
                 (๗) หลีกเลี่ยงการกระทําใดๆ ที่จะนําความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ


                               หมวดที่ ๖ ว่าด้วย จรรยาบรรณของกรรมการ และอนุกรรมการ


             ข้อ ๘. กรรมการและอนุกรรมการเป็นบุคคลที่มีหน้าที่และผลกระทบต่อสมาคม สมาชิก และสังคมโดยตรง สมควรมีจรรยาบรรณสําหรับ
             กรรมการและอนุกรรมการ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังต่อไปนี้

                 (๑) ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของ วสท. โดยเคร่งครัด
                 (๒) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ วสท. โดยเคร่งครัดเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสมาชิก วิศวกร และสังคม
                 (๓)  รักษา และสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณของ วสท. ให้เป็นที่ยอมรับยกย่องโดยทั่วไป
                 (๔) ดําเนินการอย่างเต็มความสามารถให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ในการเสนอตัวเข้ารับเลือกตั้งหรือ รับแต่งตั้ง ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

                 (๕) มีวินัยในการเข้าประชุมอย่างสมํ่าเสมอ
                 (๖) เคารพและปฏิบัติตามมติของที่ประชุม
                 (๗) ใช้วาจาท่าทีที่สุภาพ มีมารยาทให้เกียรติ และเคารพสิทธิ์ต่อผู้อื่น
                 (๘)  สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
                 (๙) ต้องไม่ใช้อํานาจหรืออิทธิพลใด ๆ ต่อการตัดสินใจ การจํากัดการตัดสินใจ หรือจํากัดการดําเนินการใด ๆ ของกรรมการ
                    อนุกรรมการ และสมาชิก โดยไม่ชอบธรรม




           54
          92      วิศวกรรมสาร ปีที่ 72 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562
                 วิิศวิกรรมสาร ปีีที่่� 74 ฉบัับัที่่� 1 มกราคม-ม่นาคม 2564
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97