Page 177 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 177
ธนาคารได้นำาแนวทางการกำากับดูแลและการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 38500:2015 (Governance of IT
for the Organization) และแนวปฏิบัติที่ดี COBIT 2019 มาใช้ในการกำากับดูแลและบริหารจัดการงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็น
ระบบ รวมถึงการนำากฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่สำาคัญเกี่ยวข้องกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562 พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ฯลฯ มาใช้เป็นมาตรการในการควบคุมดูแล ให้สอดคล้อง
กับพฤติกรรมของลูกค้าและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธนาคารได้จัดทำาแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2563-2567 ซึ่งได้กำาหนดให้มีกลยุทธ์และพันธกิจหลัก 3 ด้าน ดังนี้
1 ด้านศักยภาพของบุคลากร (People)
การเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้าน IT ถือเป็นหัวใจสำาคัญของการนำาไปสู่ Digital
Banking จึงจำาเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
สารสนเทศ (Innovation Culture) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์
สร้างวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานมากขึ้น (Digital Workplace) และ
สามารถปรับรูปแบบการทำางานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น (Agile) หรือการเรียนรู้งาน
ในลักษณะ Cross Function เพื่อสร้างความรู้ ประสบการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานให้แก่พนักงาน
2 ด้านการส่งเสริมการปฏิบัติงาน (Process)
การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว โดยให้ความสำาคัญกับ
การพัฒนาระบบงานและกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการนำาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับ
ระบบงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการแข่งขัน เช่น Cloud, Artificial Intelligence (AI),
Blockchain, Biometric รวมถึงการนำา Data Governance มาใช้สนับสนุนการจัดเก็บ
การบริหารจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรัดกุม
3 ด้านโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
(Infrastructure & Security)
จากเป้าหมายในการเป็น IT ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน (IT Infrastructure) ได้มาตรฐานสากล
มั่นคง ปลอดภัย และพร้อมให้บริการได้ตลอดเวลา กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศได้ยกระดับ
มาตรฐานระบบงานต่าง ๆ ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล เพิ่มขีดความสามารถด้านไอที
ในระบบงานสำาคัญให้พร้อมรองรับปริมาณการทำาธุรกรรม ควบคู่กับการพัฒนาระบบงาน
ให้สอดรับกับเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำาเนินธุรกิจให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ รองรับการขยายตัวทางธุรกิจและการบริหารจัดการองค์กร
ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งการดำาเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรณีปกติและในกรณี
เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำาปี 2563 173