Page 7 - บทบาทและความจำเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
P. 7
บทบาทและความจ�าเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
บทน�ำ
บทบำทและควำมจ�ำเป็นของ Care Giver
โครงสร้างด้านประชากรของประเทศไทยเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged
society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ10
และตามการคาดการณ์ประมาณประชากรของส�านักงานคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ(สศช.) ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่าง
สมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง
ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2578 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคม
สูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูง
ถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (ส�านักงานสถิติแห่งชาติ, 2561)
ผลจากการส�ารวจประชากรไทยมีจ�านวน 67.6 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2560
เป็นชาย 33 ล้านคน และหญิง 34.6 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป 11.3 ล้านคน
คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาย 5.08 ล้านคน (ร้อยละ 15.4) และ
หญิง 6.23 ล้านคน (ร้อยละ 18.0) เมื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 ช่วงวัยคือ ผู้สูงอายุ
วัยต้น (อายุ 60-69 ปี) ผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ 70-79 ปี ) และผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ
80 ปีขึ้นไป) จะพบว่าผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วงวัยต้นร้อยละ 57.4
ของผู้สูงอายุทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มอัตราของผู้สูงอายุหมายถึงอัตราส่วนของ
ผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งสิ้น 100 คน จะพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากร้อยละ 6.8
ในปี พ.ศ. 2537 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ในปี พ.ศ. 2545 คิดเป็นร้อยละ 10.7 ในปี
พ.ศ. 2550 ร้อยละ 12.2 ในปี พ.ศ. 2554 ร้อยละ 14.9 ในปี พ.ศ. 2557 และเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 16.7 ในปี พ.ศ. 2560 (ส�านักงานสถิติแห่งชาติ, 2561)
7