Page 9 - บทบาทและความจำเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
P. 9
บทบาทและความจ�าเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
รากฏการณ์ดังกล่าวจ�าเป็นต้องมีการด�าเนินงานที่เพื่อรองรับสังคม
สูงวัย โดยการพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชน (com-
ปmunity based long-term care) ซึ่งมีความจ�าเป็นและส�าคัญยิ่ง
โดยที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้บ้านหรือชุมชนเป็นฐานในการให้บริการ โดยการมีส่วนร่วม
ของสมาชิกในครอบครัวหรือคนในชุมชนในการจัดบริการดูแลระยะยาว ซึ่งในการ
ด�าเนินการเรื่องนี้เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
มีการท�าบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อสนับสนุนการด�าเนินงานจัดระบบการดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุข ส�าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการของหน่วยบริการในสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและส�านักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ รวมทั้งมีบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการด�าเนินงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ด้วย (ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, อ้างถึงใน ภาสกร สวนเรือง
อาณัติ วรรณศรี และสัมฤทธิ์ ศรีธ�ารงสวัสดิ์, 2561) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักใน
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ข้อ 4.2 จัดตั้งและ
พัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคม รวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวใน
ชุมชนที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุได้มากที่สุด โดยเน้นบริการถึงบ้านและมีการสอดประสานกัน
ระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคม โดยควรครอบคลุมบริการดังต่อไปนี้
สนับสนุนการดูแลระยะยาว
ระบบประคับประคอง
ดูแลโรคเรื้อรังที่ส�าคัญ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหลอดเลือดสมอง
อาสาสมัครในชุมชน
สนับสนุนให้ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ
(คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2552)
9