Page 14 - บทบาทและความจำเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในยุคสังคมสูงวัย
P. 14
อกจากนี้ ยังต้องเข้ารับการฝึกอบรมฟื้นฟูการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
ระหว่างปฏิบัติงานอย่างน้อยทุก 2 ปี ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย
นไม่มีประวัติกระท�าผิดต่อผู้สูงอายุ มีใบรับรองแพทย์ว่าสุขภาพดี
ไม่เป็นผู้ฟั่นเฟือนวิกลจริต ผ่านการประเมินด้านสุขภาพจิต มีวุฒิภาวะบุคลิกเหมาะสม
โดยขอบเขต/บทบาทหน้าที่ของ Caregiver ดูแลผู้สูงอายุตามแผนการดูแลที่ได้รับ
มอบหมาย ได้แก่
ดูแลกิจวัตรประจ�าวันของผู้สูงอายุ เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับ
พักผ่อน การเคลื่อนย้าย การขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะปลอดภัยเหมาะสม
กับวัยของผู้สูงอายุ
สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องสุขภาพ
ของผู้สูงอายุ และต้องรายงานให้ญาติของผู้สูงอายุทราบ
ส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกด้านตลอดจนดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
ถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
เขียนรายงานการปฏิบัติงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
กรณีที่มีการประกอบอาหารให้ผู้สูงอายุต้องด�าเนินการเตรียม ปรุง ประกอบ
อาหาร พร้อมทั้งดูแลเครื่องมือเครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหารให้สะอาด
และถูกสุขลักษณะในทุกขั้นตอนและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่เกิดจากการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง โดยทิ้ง
ลงในภาชนะรองรับที่ถูกหลักสุขาภิบาล และระวังป้องกันไม่ให้เกิดการ
ปนเปื้อนกับอาหารและเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือก่อให้เกิดเหตุ
ร�าคาญต่อบ้านเรือนใกล้เคียง
ส่งต่อผู้สูงอายุกรณีที่พบว่ามีเหตุฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บเกิดขึ้น
กับผู้สูงอายุตามระบบการส่งต่อ และมีวิธีการอย่างถูกต้อง
จัดท�ารายงานผลการดูแลผู้สูงอายุรายเดือน เพื่อรายงานต่อผู้จัดการระบบฯ
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรมเป็น Care giver เป็นไปตามประกาศของ
ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
14