Page 190 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 190
5.1.5) พระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน
ถึงแม้ว่าพุทธศาสนานิกายเถรวาทจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมทวารวดี
ดังจะเห็นได้จากจารึกภาษาบาลีแสดงข้อความหรือคาถาจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี แต่ก็มี
หลักฐานโบราณวัตถุที่เนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายานปะปนอยู่ด้วย (แต่ก็อาจเป็นเพียง
รูปเคารพชั้นรองหรือบริวารของพระพุทธเจ้าก็ได้) อิทธิพลของพุทธศาสนามหายานนี้อาจได้
รับมาจากประเทศอินเดียโดยตรง หรือเป็นผลมาจากการติดต่อกับชุมชนโบราณทางภาคใต้ใน
สมัยศรีวิชัยราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 ก็ได้ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
29
หลักฐานของพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีอยู่ค่อนข้างเด่นชัดนั้นพบที่เมืองโบราณ
3 แห่ง ได้แก่
1) เมืองโบราณศรีเทพ เห็นได้จากภาพสลักในถ ้าเขาถมอรัตน์ และกลุ่มประติมากรรม
ส าริดที่ขุดพบที่โบราณสถานเขาคลังใน (ดูในบทที่ 4)
2) เมืองโบราณคูบัว พบประติมากรรมดินเผารูปพระวัชรปาณีจากเจดีย์หมายเลข 40
และพระโพธิสัตว์ส าริดจากวัดโขลงสุวรรณคีรี (ภาพที่ 155)
30
ภาพที่ 155 ประติมากรรมส าริดรูปพระโพธิสัตว์ สูง 11 เซนติเมตร
พบที่วัดโขลงสุวรรณคีรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
3) เมืองโบราณอู่ทอง พบประติมากรรมส าริดรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อย่างน้อย
31
3 องค์ (สมบูรณ์ทั้งองค์ 1 องค์ และส่วนพระเศียร 2 ชิ้น) จัดแสดงอยู่ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง (ภาพที่ 156)
184