Page 192 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 192
ภาพที่ 157 มุขลึงค์ พบจากการขุดแต่งโบราณสถานคอกช้างดิน หมายเลข 5
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ไม่เพียงแต่หลักฐานของพิธีกรรมที่เนื่องในไศวนิกายที่โบราณสถานคอกช้างดินเท่านั้น
เพราะจากการขุดค้นที่บ้านเนินพลับพลาโดยสันติ์ ไทยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2553 ยังได้พบ
กองกูณฑ์ในพิธีพราหมณ์ คือเป็นการบูชาเทพเจ้าต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ประกอบ
พิธีหรือเพื่อความเป็นมงคลของพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยมีการน าตัวอย่างก้อนดินเผาไฟในหลุม
กองกูณฑ์นี้ไปก าหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนได้ค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 -
32
15 ซึ่งในระยะนี้ก็มีหลักฐานของพุทธศาสนานิกายมหายานปรากฏขึ้นด้วย เหตุนี้เมืองอู่ทอง
จึงมีการยอมรับนับถือทั้งสองศาสนาในช่วงเวลาเดียวกัน
หลักฐานของการเจริญขึ้นของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายที่เมืองอู่ทองนั้นปรากฏขึ้น
ที่โบราณสถานคอกช้างดินอย่างแน่นอน แต่ยังไม่สามารถระบุต าแหน่งหรือพื้นที่ใช้งานของลัทธิ
ไวษณพนิกายที่บูชาพระวิษณุ (หรือพระนารายณ์) ได้อย่างชัดเจน สิ่งที่พบมีเพียงประติมากรรม
รูปพระวิษณุรุ่นเก่าอย่างน้อย 2 องค์ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อพระยาจักรและศาล
ในวัดเขาพระ (ภาพที่ 158) น่าเสียดายที่ไม่สามารถก าหนดอายุได้อย่างแน่ชัดเพราะองค์เทวรู
ปถูกปิดทองทับไปมากและมีการดัดแปลงลักษณะรูปภาพไปบางส่วนแล้ว มีเพียงลักษณะของ
พระหัตถ์ขวาและซ้ายด้านหน้าที่ทรงถือวัตถุบางอย่างแนบติดกับบั้นพระองค์และร่องรอยของผ้า
ห้อยโค้งรูปตัว U เบื้องหน้าพระวรกาย ซึ่งชวนให้นึกถึงเทวรูปพระวิษณุรุ่นเก่าพบที่จังหวัด
นครศรีธรรมราชที่ก าหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 10 และพระวิษณุพบที่จังหวัดเพชรบุรี
33
34
ที่น่าจะสลักขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้น (ภาพที่ 159)
186