Page 195 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 195
ส าหรับที่เมืองศรีเทพนั้นพบทั้งศิวลึงค์ เทวรูปพระวิษณุ (ภาพที่ 162) รูปพระกฤษณะ
(อวตารปางหนึ่งของพระวิษณุ) และรูปพระสุริยะหรือสูรยะ (พระอาทิตย์) น่าเสียดายว่าหลักฐาน
เกือบทั้งหมดไม่ทราบต าแหน่งที่มาชัดเจนจึงยากต่อการแปลความ ส าหรับรูปพระวิษณุนั้น
มีลักษณะคล้ายศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร แต่ก็สลักโดยใช้เทคนิคที่แตกต่างไป
เพราะพระวิษณุที่เมืองศรีเทพไม่มีชิ้นส่วนหินยึดระหว่างพระหัตถ์ข้างบนกับพระเศียร
39
(ในลักษณะของวงโค้งเกือกม้า) นอกจากนี้การค้นพบเทวรูปพระสุริยะ (สังเกตได้จากการมี
ประภามณฑลเป็นแผ่นกลมใหญ่อยู่เบื้องหลังพระเศียร, มีเครา, ทรงสวม รองพระบาทบูท) เป็น
จ านวนถึง 8 องค์ (ภาพที่ 163) ก็แสดงให้เห็นการนับถือพระองค์มากเป็นพิเศษซึ่งไม่พบที่ใดใน
40
ประเทศไทย
ภาพที่ 162 เทวรูปพระวิษณุจตุรภุช
พบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
189