Page 198 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 198

ทองที่เมืองอู่ทองก็มีพระนามของกษัตริย์ที่อาจเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมรด้วย ซึ่งเป็นประเด็น
                       ที่ต้องศึกษาตรวจสอบต่อไป
                              ส่วนที่เมืองนครปฐมโบราณนั้นไม่พบจารึกที่สัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์ แต่ในต านาน

                       เมืองก็ระบุถึงพราหมณ์ในราชส านักที่สัมพันธ์กับการก่อสร้างพระประโทณเจดีย์ การค้นพบ

                       ประติมากรรมที่เนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยทวารวดีก็เป็นหลักฐานที่
                       สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของศาสนาพราหมณ์ ทั้งการค้นพบรูปศิวลึงค์ เทวรูปพระวิษณุ และ
                       อาจรวมถึงรูปพระสุริยะ นอกจากนี้ยังได้พบรูปมหิษาสุรมรรทินี และฐานประติมากรรมรูปเคารพ

                                       45
                       อีกจ านวนหนึ่งด้วย  (ภาพที่ 166)



















                                              ภาพที่ 166 ศิวลึงค์ที่ลานรอบองค์พระปฐมเจดีย์



                              แม้ว่าหลักฐานส่วนใหญ่จะมีข้อมูลเรื่องต าแหน่งที่พบไม่แน่ชัด เพราะได้มาจากการ

                       เก็บรวบรวมโบราณวัตถุในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 แต่ฐานรูปเคารพขนาดใหญ่บางชิ้นก็มีประวัติว่า
                                                                                 46
                       ได้มาจากซากศาสนสถานที่เมืองนครปฐมโบราณอย่างแน่นอน  (ภาพที่ 167) แต่ศาสนา
                       พราหมณ์ที่เมืองนครปฐมโบราณก็มีบทบาทค่อนข้างน้อยหากเปรียบเทียบกับข้อมูลของ
                       พุทธศาสนานิกายเถรวาท











                                                               192
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203