Page 199 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 199
ภาพที่ 167 ภาพถ่ายเก่าศิวลึงค์และฐานโยนิที่ลานขององค์พระปฐมเจดีย์
(ที่มา: Lucien Fournereau, Le Siam ancien, archéologie, épigraphie, géographie
(Paris : Ernest Laroux, 1895), 123.)
ส าหรับเมืองลพบุรีหรือ “ลวปุระ” ซึ่งเป็นเมืองส าคัญแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดีนั้น
นอกจากจะมีร่องรอยหลักฐานของพุทธศาสนา เช่น จารึก (ดูในบทที่ 3) ประติมากรรมหลายชิ้น
จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีบริเวณที่ท าการไปรษณีย์เมือง
49
50
48
47
ลพบุรี , วัดนครโกษา และวัดปืน ที่ศาลพระกาฬยังได้พบเทวรูปพระวิษณุรุ่นเก่าด้วย
ดังนั้นตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีความส าคัญ ได้แก่ เมืองอู่ทอง เมืองนครปฐม เมือง
ศรีมโหสถ เมืองลพบุรี และเมืองศรีเทพ ต่างปรากฏประติมากรรมรูปพระวิษณุด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่ง
อาจเป็นไปตามแนวคิดของปิแอร์ ม็องแก็ง ที่เสนอเกี่ยวกับการแพร่หลายของไวษณพนิกายที่
สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์นั่นเอง (ดูในบทที่ 2)
ที่น่าสนใจคือในช่วงปลายสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 ได้ปรากฏ
วัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนครที่เมืองลพบุรี ดังจะเห็นได้จากเทวสถานปรางค์แขกซึ่งมี
51
รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมทวารวดีและเขมร (ภาพที่
168) ทั้งยังได้พบจารึกอัญชัยวรมันที่เป็นจารึกภาษาสันสกฤตและเขมร กล่าวถึงพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 4 (ครองราชย์ที่เมืองเกาะแกร์ในกัมพูชาช่วง พ.ศ. 1471 – 1485) กับการถวาย
52
สิ่งของและข้าทาสแด่เทพเจ้าโดยระบุถึงพระนารายณ์ด้วย
193