Page 202 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 202
ดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่า การนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในสมัยทวารวดีนั้น
มีทั้งที่เป็นพิธีกรรมของราชส านักทวารวดีตามเมืองโบราณต่างๆ และยังมีส่วนที่เป็น
วัฒนธรรมแบบเขมรโบราณที่แพร่หลายเข้ามาในช่วงร่วมสมัยด้วย
5.1.7) ใบเสมาหิน
ใบเสมาหินปรากฏทั่วไปตามชุมชนหรือเมืองโบราณร่วมสมัยทวารวดีในเขตภาคอีสาน
(แต่ก็ได้พบบ้างในภาคกลาง เช่นที่เมืองดงแม่นางเมือง บ้านโคกไม้เดน หรือเมืองดงละคร ดังได้
กล่าวแล้วในบทที่ 4) โดยพบมากที่สุดที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อ าเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
และบ้านกุดโง้ง อ าเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ แต่ก็ได้พบที่อื่นๆ ด้วย เช่น เมืองเสมา อ าเภอสูงเนิน
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นต้น
เสมาที่พบมีขนาดแตกต่างกันไป โดยมี 3 รูปทรงหลักๆ คือ
1. เป็นหลักหินคือแผ่นหินธรรมชาติที่ไม่ได้รับการสลักรูปร่างแน่นอน
2. เป็นแท่งหรือแผ่นหินทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือแท่งสี่เหลี่ยมยอดแหลม
3. เป็นแผ่นหินแบนๆ ส่วนยอดโค้งแบบใบเสมายุคหลัง
ใบเสมาเหล่านี้มี 4 รูปแบบส าคัญ คือ
1. ไม่มีลวดลายสลักใดๆ (เช่นที่เมืองเสมา หรือที่อ าเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ)
(ภาพที่ 170 - 171)
2. มีลวดลายสลักอย่างง่ายๆ เช่น ลายกลีบบัวที่ส่วนฐาน รูปธรรมจักร รูปสถูปหรือ
หม้อน ้าเป็นแกนกลาง (ภาพที่ 172 - 173)
3. สลักภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา ทั้งพุทธประวัติและชาดก (เช่นที่เมืองฟ้าแดด
สงยางและบ้านกุดโง้ง) (ภาพที่ 174 - 175)
4. สลักภาพบุคคลเต็มแผ่น (พบที่ภูพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์) (ภาพที่ 176)
ลักษณะการปักเสมาที่พบในภาคอีสานมี 3 แบบ คือ
1. ปักเป็นกลุ่มกระจายอยู่ทั่วเนินดินหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยไม่ก าหนดจ านวน
ทิศทาง หรือต าแหน่งในการปักที่แน่นอน
2. ปักประจ าทิศรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนาเพื่อแสดงเขตอันศักดิ์สิทธิ์
3. ปักอยู่โดดๆ เพื่อแสดงต าแหน่งของบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์
ศรีศักร วัลลิโภดม มีความเห็นว่า การสร้างเสมาหินนี้อาจเป็นคติที่สืบทอดมาจาก
ประเพณีการปักหินตั้ง (megaliths) ซึ่งเป็นระบบความเชื่อในเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของ
คนในภูมิภาคนี้ เห็นได้จากการปักเสมาที่ไม่ก าหนดจ านวน ทิศทาง และต าแหน่งแน่นอน
จนกระทั่งพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาจึงมีการน าเอาความเชื่อดั้งเดิมมาปะปนกับคติพุทธศาสนา
196