Page 206 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 206
ภาพที่ 176 ใบเสมารูปบุคคลที่ภูพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์
ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้ศึกษาใบเสมากลุ่มหนึ่งที่มีภาพสลักเล่าเรื่องทศชาติชาดกและ
เสนอว่า ทั้งเนื้อหาของภาพและลักษณะใบเสมาที่พบในภาคอีสานของไทยมีความคล้ายคลึงกับ
ใบเสมาซึ่งพบที่เมืองสะเทิมของรัฐมอญในประเทศเมียนมา เหตุนี้จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็น
หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าคงจะมีการอพยพของคนมอญโบราณจากภาคอีสานของไทยไปยัง
58
ดินแดนตอนใต้ของเมียนมาอันเป็นแหล่งที่อยู่ของชาวมอญก็เป็นได้
เมื่อไม่นานมานี้มีผลการวิจัยเกี่ยวกับใบเสมาหรือหลักหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
59
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ซึ่งได้น าเสนอแนวคิดดังนี้
1) การสร้างใบเสมาหรือหลักหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลักษณะร่วมที่พบได้
ในทุกลุ่มน ้า แต่ก็ปรากฏเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วย
2) คติในการสร้างใบเสมานั้นมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษและ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ แต่ก็มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาด้วย โดยบางแห่ง
เป็นนิมิตของพัทธสีมาซึ่งมีความถูกต้องตามพระวินัยและอรรถกถาของพุทธศาสนา
และบางแห่งก็สร้างขึ้นเนื่องในคติการสั่งสมบุญบารมี
3) ภาพสลักบนใบเสมาโดยเฉพาะภาพที่เคยสันนิษฐานว่าเป็นรูปสถูปทรงหม้อน ้านั้น
อาจเป็นรูปของเครื่องบวงสรวงบูชา (ปูรณกลศ) ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติกันใน
ประเทศอินเดีย (หรือบายศรีในพิธีกรรมของไทยในปัจจุบัน)
200