Page 209 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 209

พระลักษมีทรงเป็นเทพีแห่งความงาม ความอุดมสมบูรณ์ และโชคลาง นับถือกันทั้งใน
                       ศาสนาพุทธ พราหมณ์ และเชน ส่วนช้างเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝนซึ่งเป็นแหล่งก าเนิดของชีวิต
                       และท้าวกุเวรเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง นับถือกันทั้งชาวพุทธ พราหมณ์ และเชนเช่นกัน โดยใน

                       คติทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ท้าวชัมภล”

                              น่าสังเกตว่าแผ่นดินเผาบางชิ้นมีรูเจาะตอนบนส าหรับร้อยเชือก จึงอาจใช้เป็นเครื่องราง
                       โดยเฉพาะของพ่อค้าที่ใช้ติดตัวในการเดินทางค้าขาย ในประเทศอินเดียนั้นได้พบประติมากรรม
                       รูปเทพและเทพีเหล่านี้จ านวนมากตามเมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าขาย แต่การน ารูป

                       คช-ลักษมีและท้าวกุเวรมาประกอบกันโดยท าเป็นแผ่นดินเผา 2 ด้านถือเป็นรูปแบบเฉพาะของ

                       ทวารวดีที่ไม่พบในอินเดีย ทั้งนี้รูปคช-ลักษมีมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยหลังคุปตะ
                       ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ จึงก าหนดอายุไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14


                              5.2.2)  แผ่นหินหรือดินเผารูปคช-ลักษมีพร้อมด้วยสัญลักษณ์มงคล

                              ในภาคกลางได้พบแผ่นหินหรือดินเผาสลักรูปคช-ลักษมีพร้อมด้วยสัญลักษณ์มงคล
                       หลายแห่ง เช่น เมืองนครปฐม (ภาพที่ 179), เมืองอู่ทอง, เมืองดงคอน จังหวัดชัยนาท

                       และบ้านหนองปรง จังหวัดเพชรบุรี (ภาพที่ 180) โดยแผ่นดินเผาจากเมืองนครปฐมมีความ
                       สมบูรณ์ที่สุด (มีขนาด 15x21 เซนติเมตร) เพราะมีสัญลักษณ์มงคลที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์

                       และความเป็นจักรพรรดิ์หลายอย่าง ได้แก่ แส้ (จามร), พัดโบก (วาลวิชนี), สังข์, ปลา, วัชระ, ขอ
                       สับช้าง (อังกุศะ), ลูกประค า (อักษมาลา), ฉัตร และหม้อน ้า




























                                ภาพที่ 179 แผ่นดินเผารูปคช-ลักษมีและสัญลักษณ์มงคล พบที่เมืองโบราณนครปฐม
                                              จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร







                                                               203
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214