Page 213 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 213

5.2.5)  เหรียญตราสัญลักษณ์มงคล
                              เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังระบุถึงโถวเหอหรือทวารวดีว่า “ในการค้าขายแลกเปลี่ยน

                       ทุกคนจะใช้เหรียญเงินตราที่มีขนาดเล็กคล้ายเหรียญเงินตราที่มีขนาดเล็กคล้ายเมล็ดเอล์ม
                       (elmseeds) เป็นสื่อกลาง” ซึ่งได้พบเหรียญเงินจ านวนมากตามเมืองสมัยทวารวดี เช่น เหรียญ

                       รูปสังข์/ศรีวัตสะ เหรียญรูปพระอาทิตย์/ศรีวัตสะ ฯลฯ โดยที่เหรียญเหล่านี้มีน ้าหนักมาตรฐานที่
                       ลดหลั่นกันหลายระดับ คือมีทั้งเหรียญใหญ่และเหรียญปลีก ทั้งยังพบว่ามีความคล้ายคลึงกับ

                       เหรียญจากรัฐยะไข่ รัฐปยู และรัฐมอญ ในประเทศเมียนมา ดังที่ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข
                       อินทราวุธ สันนิษฐานไว้ว่ามีการผลิตเหรียญเงินขึ้นในบ้านเมืองทวารวดีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางใน

                       การค้าขายแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะกับรัฐโบราณในเมียนมา และน่าจะใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยน
                       กันเองภายในชุมชนทวารวดีด้วย เนื่องจากได้พบเหรียญเหล่านี้ตามเมืองต่างๆ เช่น อู่ทอง

                                                                                                       74
                       นครปฐม คูบัว ศรีมโหสถ จันเสน ดงคอน (จังหวัดชัยนาท) พรหมทิน (จังหวัดลพบุรี) เป็นต้น
                              อย่างไรก็ตาม เหรียญตราข้างต้นก็คงใช้ในกิจพิธีทางศาสนาด้วย เพราะเป็นเหรียญที่มี

                       สัญลักษณ์มงคล และพบจากการขุดค้นตามโบราณสถาน ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์
                       ประพันธ์วิทยา ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า เหรียญเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนที่กษัตริย์

                       จะต้องมอบให้แก่พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรม (หรือ Vedic Sacrifice)  ดังจะเห็นได้จากการ
                                                                                     75
                       ค้นพบภาชนะบรรจุเหรียญเงินมีจารึกศรีทวารวดีฯ 3 เหรียญ พร้อมทั้งเหรียญตราพระอาทิตย์/

                       ศรีวัตสะ เหรียญตราสังข์/ศรีวัตสะ เหรียญตราสังข์/หม้อปูรณฆฏะ แท่งเงินและก้อนเงินตัด
                       เป็นท่อน ณ โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 7 ที่เมืองอู่ทอง  (ภาพที่ 186 - 187)
                                                                             76




























                          ภาพที่ 186 กระปุกดินเผาบรรจุเหรียญตราและก้อนเงิน พบจากการขุดค้นโบราณสถานคอกช้างดิน 7
                                               จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง






                                                               207
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218