Page 218 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 218

ภาพที่ 191 ตุ๊กตาดินเผา พบจากการขุดค้นที่เมืองหริภุญไชย (ล าพูน)
                                      (ที่มา: กรมศิลปากร, แหล่งโบราณคดีประเทศไทย เล่ม 6 (ภาคเหนือ)
                                                 (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534), 161.)



                              อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ กล่าวว่า การที่น ารูปลิงมาประกอบคงต้องการให้มีความหมายเช่น

                       หนุมานที่ชาวอินเดียนับถือ เพื่อเป็นเครื่องรางติดตัว หรือยกย่องลิงที่มีประโยชน์ในการท ามา
                       หากินก็ได้
                              อลิซาเบธ ไลออนส์ (Elizabeth Lions) มีความเห็นว่า อาจหมายถึงการเปรียบเทียบเชิง

                       นามธรรมในการที่จะควบคุมจิตใจมนุษย์ที่ไม่อยู่นิ่งเหมือนลิงให้จงได้ และคงใช้เป็นเครื่องราง

                       เก็บไว้ในครอบครัวหรือแท่นบูชาในวัดเพื่อเป็นเครื่องหมายของการก้าวย่างผ่านพ้นวัยเด็กไปสู่
                       วัยฉกรรจ์ หรืออาจหมายถึงการสละโลกเข้าบวชเรียนเป็นสามเณรก็ได้
                              ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ เสนอว่า รูปดังกล่าวสื่อถึงเด็ก

                       โดยเฉพาะ ซึ่งเด็กนั้นก็มีความซุกซนเหมือนลิง โดยอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์

                       แบบตุ๊กตาเสียกบาลที่พบในสมัยสุโขทัย คือท าขึ้นเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจที่จะมาท าอันตรายเด็ก
                       โดยสร้างรูปคนจูงลิงขึ้นมาแล้วหักคอ เพื่อลวงว่าเด็กนั้นเสียชีวิตไปแล้ว อันแสดงให้เห็นถึงความ
                       เชื่อพื้นเมืองเรื่องไสยศาสตร์ที่อยู่คู่กับพุทธศาสนานั่นเอง



                       5.3  โบราณวัตถุที่ใช้ในชีวิตสามัญทั่วไป (domestic context)
                              โบราณวัตถุประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

                              1) วัตถุที่มีใช้กันมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินขัด, เครื่องมือโลหะ,
                       กระสุนดินเผา, แวดินเผา หรือเครื่องประดับบางชนิด







                                                               212
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223