Page 219 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 219
2) วัตถุที่ได้รับแบบอย่างมาจากวัฒนธรรมอินเดีย เช่น แท่งดินเผา, หินบด และ
เครื่องประดับบางชนิด
5.3.1) ขวานหินขัด
ในการส ารวจและขุดค้นชุมชนสมัยทวารวดีบางครั้งได้พบขวานหินขัดที่เป็นวัตถุ
ประเภทเด่นของวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ด้วย (แต่ก็มีปริมาณน้อยมาก) ตัวอย่างเช่นบริเวณเมือง
อู่ทองที่มีการส ารวจพบขวานหินขัดหลายชิ้น และศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี เคยก าหนดอายุ
87
เชิงเทียบให้อยู่ในช่วง 3,000 ปีมาแล้ว การขุดค้นชั้นวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่ต าบล
พระประโทน อ าเภอเมืองนครปฐม ก็ได้พบขวานหินขัดปะปนอยู่ด้วย การส ารวจพื้นผิวดิน
88
(surface survey) ที่เมืองโบราณขีดขิน อ าเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ก็ได้พบขวานหินขัด
หลายชิ้น (ภาพที่ 192) แสดงว่าขวานหินขัดยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสืบเนื่องมาในสมัยทวารวดี
หรือคนในสมัยทวารวดีได้น าขวานหินขัดยุคเก่านั้นกลับมาใช้ใหม่
ภาพที่ 192 ขวานหินขัด พบจากการส ารวจและขุดค้นที่เมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี
5.3.2) เครื่องมือโลหะ
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายช่วงยุคเหล็กมีเครื่องมือโลหะโดยเฉพาะที่ท าจาก
เหล็กหลายประเภท มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กซึ่งอาจเป็นทั้งเครื่องมือใช้สอยหรืออาวุธ แต่น่า
สังเกตว่าจากการขุดค้นชุมชนโบราณสมัยทวารวดีได้พบเครื่องมือเหล็กไม่มากนักและส่วนใหญ่
ก็อยู่ในสภาพช ารุด (สึกกร่อนหรือแตกหัก) จนไม่สามารถจัดรูปแบบเครื่องมือเหล็กในสมัย
ทวารวดีได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างวัตถุที่พบเช่นใบมีดหรือใบหอกขนาดเล็กจากเมืองขีดขินและ
เมืองอู่ทอง เป็นต้น (ภาพที่ 193)
213