Page 216 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 216
ภาพที่ 188 เหรียญตราสัญลักษณ์รูปสังข์ พบจากการขุดค้นโบราณสถานคอกช้างดิน
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
โดยสรุปแล้ว ดร.วิคส์ มีแนวคิดว่า การผลิตเหรียญขึ้นใช้ในพิธีกรรมและใช้เป็นสื่อกลาง
ในการแลกเปลี่ยนล้วนเป็นกิจกรรมในระดับรัฐ เพราะจะต้องมีการควบคุมรูปแบบ ขนาด และ
น ้าหนัก ดังนั้นความเหมือนหรือความแตกต่างของเหรียญที่พบตามพื้นที่ต่างๆ ย่อมแสดงให้
เห็นถึงขอบเขตของการปกครอง รวมทั้งสะท้อนถึงเครือข่ายการค้าทั้งภายในและภายนอกรัฐ
ทวารวดีได้อีกด้วย
5.2.6) ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิง
ตุ๊กตาดินเผาสมัยทวารวดีมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่ปั้นขึ้นอย่างง่ายๆ และใช้แม่พิมพ์
ประกบ โดยมีทั้งตุ๊กตารูปผู้ชายและผู้หญิงซึ่งส่วนศีรษะมักจะหลุดหักไป (อาจเกิดจากความจงใจ
หรือเป็นเพราะส่วนคอเป็นจุดเปราะบางที่สุดจึงหักได้ง่ายก็ได้) ประติมากรรมที่น่าสนใจคือรูป
83
ผู้หญิงถือนกแก้วพบที่แหล่งโบราณคดีหอเอก เมืองนครปฐม และเมืองจันเสน จังหวัดนครปฐม
(ภาพที่ 189) เพราะประติมากรรมเช่นนี้คงมีต้นแบบจากอินเดียดังจะเห็นได้จากธรรมเนียม
84
การใส่ก าไลข้อมูลหลายวงและนกแก้วก็เป็นสัตว์เลี้ยงของสตรีสูงศักดิ์ของชาวอินเดียด้วย
210