Page 211 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 211
ภาพที่ 182 ลูกเต๋าแบบต่างๆ พบที่เมืองอู่ทอง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
5.2.4) ตราประทับ
68
การใช้ตราประทับนี้เป็นวัฒนธรรมอินเดีย พ่อค้าหรือนักบวชชาวอินเดียคงน ามาใช้เพื่อ
สื่อสารกันเองหรือติดต่อกับชนพื้นเมือง มีทั้งใช้ในกิจกรรมทางศาสนาและการค้า (บางชิ้นคงเป็น
ตราประจ าตัว) โดยศึกษาได้จากสัญลักษณ์บนตรานั้นๆ โดยท าเป็นรูปบุคคล, รูปสัตว์ต่างๆ
(เช่น สิงห์, ม้า, ช้าง, วัว, กวาง, หงส์), สัญลักษณ์ของเทพเจ้า, ภาพเล่าเรื่อง, ภาพเรือส าเภา
(ภาพที่ 183) หรือเป็นตัวอักษร โบราณวัตถุที่พบนี้มีทั้งแม่พิมพ์คือ “ตราประทับ” (seal) ซึ่งส่วน
ใหญ่ท าจากดินเผา แต่ก็มีงาช้างด้วย และมีวัสดุดินเผาที่ถูกประทับหรือ “ตราดินเผา” (baked
clay sealing) โดยค้นพบที่เมืองนครปฐม, เมืองอู่ทอง, เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์, เมือง
ซับจ าปา จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
ภาพที่ 183 ตราดินเผารูปเรือส าเภา พบที่เมืองนครปฐม อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
205