Page 210 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 210
ภาพที่ 180
แผ่นดินเผารูปคช-ลักษมีและสัญลักษณ์มงคล
พบที่บ้านหนองปรง อ าเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแผ่นที่ใช้รองรับหม้อน ้าที่ใช้
สรงน ้าเทพและเทพี (อภิเษจนียะ) ในพิธีราชสูยะหรือพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ แผ่นหิน
คล้ายกันนี้ยังได้พบที่รัฐยะไข่ทางตะวันตกของประเทศเมียนมา ซึ่งได้พบทั้งแผ่นหินและหม้อน ้า
ด้วย อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ มีความเห็นว่าแผ่นดินเผานี้อาจใช้
65
66
ใส่เครื่องหอมส าหรับพราหมณ์ในการท าพิธีกรรมก็เป็นได้
5.2.3) ลูกเต๋า
ได้พบลูกเต๋าแบบอินเดียซึ่งอาจใช้ในการละเล่นกีฬาหรือการพนัน (เช่น เล่นสกา) หรือ
ใช้ในพิธีราชสูยะ ด้วยเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่กษัตริย์จะถือลูกเต๋าไว้ อันเป็นสัญลักษณ์ของการ
แบ่งปันผลผลิตหรือความยุติธรรมในสังคมซึ่งกษัตริย์จะต้องรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว โดยได้
67
พบลูกเต๋าจากบ้านเนินมะกอกและท่าแคในจังหวัดลพบุรี, เมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี, เมือง
ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และพบมากที่สุดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาพที่ 181 – 182)
ภาพที่ 181 ลูกเต๋าท าจากกระดูกสัตว์ พบจากการขุดค้นที่เมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี
204