Page 208 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 208

พระมุนีทั้งหลาย ได้สร้างอาศรมไว้ เพราะมีน ้าเป็นนิตย์ ได้สร้างรูป
                              พระสุคตไว้ในสถานที่ (นั้น) ด้วยความยินดี ตามความคิดที่เรียนรู้จากฤษี

                                     พราหมณ์ชื่อ ศรีธรรมาตมกะ ผู้เชี่ยวชาญในหมวดมนต์วิทยา
                              สวามีชื่อศรีศิญชระผู้มีปัญญาและมีตปะ ยินดีในการบ าเพ็ญตปะ และการ

                              เจริญโยคสมาธิ จึงได้ฝึกฝนแล้ว ได้สร้างพระสุคตประติมาไว้ในเมืองนี้ .
                                                                                      63
                              . . . . เมื่อวันเสาร์ เดือน 1 ขึ้น 4 ค่ํา ปีศักราช 751 (พ.ศ. 1372)”


                       5.2  โบราณวัตถุที่ใช้ในพิธีกรรมหรือความเชื่อ
                              ในสมัยทวารวดีมีประติมากรรมบางประเภทที่ไม่ใช่รูปเคารพแต่สะท้อนให้เห็นความเชื่อ

                       บางประการของผู้คนในสมัยนั้น หรือน่าจะใช้ในกิจพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นกิจกรรมทาง
                       ศาสนาและพิธีของราชส านักกษัตริย์ก็ได้ โบราณวัตถุเหล่านี้ยังบ่งบอกถึงการรับธรรมเนียม

                       ปฏิบัติตามอย่างวัฒนธรรมอินเดีย แต่วัตถุบางประเภทก็แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของ
                       วัฒนธรรม (พื้นเมือง) ทวารวดีเอง


                                                             64
                              5.2.1)  รูปคช-ลักษมีและท้าวกุเวร
                              ในสมัยทวารวดีพบแผ่นดินเผามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2 – 5 เซนติเมตร มีทั้ง
                       แบบที่มีด้านเดียวเป็นรูปคช-ลักษมีและแบบสองด้าน โดยด้านหนึ่งเป็นรูปคช-ลักษมี คือมีเทพี

                       ลักษมีถือดอกบัว 2 ดอกประทับนั่งขัดสมาธิตรงกลางและมีช้าง 2 ตัวชูงวงหันเข้าหาเทพ

                       อีกด้านเป็นรูปท้าวกุเวรที่มีพุงพลุ้ยประทับนั่งในท่ามหาราชลีลา ดังตัวอย่างซึ่งพบที่เมือง
                       นครปฐมโบราณ, เมืองอู่ทอง, เมืองซับจ าปา จังหวัดลพบุรี เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์
                       เป็นต้น (ภาพที่ 178)

























                             ภาพที่ 178 แผ่นดินเผารูปคช-ลักษมีและท้าวกุเวร พบที่จังหวัดนครปฐม (สมบัติของเอกชน)




                                                               202
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213