Page 214 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 214

ภาพที่ 187 เหรียญตราสัญลักษณ์มงคล พบจากการขุดค้นโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 7
                                               จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง


                              เกี่ยวกับคุณลักษณะของเหรียญที่ใช้ในรัฐทวารวดีนี้ ดร.โรเบิร์ท เอส วิคส์ (Robert
                       S.Wicks) ให้ข้อมูลว่าส่วนใหญ่เป็นเหรียญเงิน แต่มีบ้างที่ท าจากดีบุกหรือตะกั่ว และได้พบ

                       แม่พิมพ์ที่ใช้หล่อเหรียญเช่นตัวอย่างหลักฐานจากเมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ โดยเขาได้
                       แบ่งเหรียญออกเป็นแบบต่างๆ ดังตารางในหน้าถัดไป

                              รูปแบบของเหรียญที่พบมากคือ เหรียญรูปสังข์-ศรีวัตสะ ซึ่งอาจผลิตขึ้นในช่วง
                                            77
                       พุทธศตวรรษที่ 11 – 13  แต่การพบเหรียญบางแบบในบางพื้นที่คงแสดงให้เห็นถึงความเจริญ
                       ของเมืองนั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลา เช่นกรณีเหรียญแบบ A ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองนครปฐมก็แสดง
                       ว่าคงมีการผลิตขึ้นที่นั่น ส่วนเหรียญแบบ D ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองอู่ทองก็แสดงว่าเมืองนี้มี

                       ความส าคัญเป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาภายหลังจากที่เมืองนครปฐมได้ผลิตเหรียญ
                       ขึ้นใช้เองแล้ว ขณะที่เหรียญแบบ C นั้นพบทั้งที่นครปฐม, อู่ทอง และพบไปถึงเขตจังหวัด

                       ชัยนาท แต่ไม่พบเลยไปถึงเขตจังหวัดลพบุรี อันสอดคล้องกับขอบเขตการปกครองของรัฐ
                                      78
                       ทวารดีและลวปุระ
                              นอกจากนี้ วิคส์ยังตั้งข้อสังเขตอีกว่า เหรียญแบบ A คงผลิตขึ้นก่อนที่นครปฐมโดยมี
                       ขนาดและน ้าหนักเฉพาะตัว ต่อมาจึงมีการผลิตเหรียญแบบอื่นๆ โดยมีความหลากหลายเรื่อง

                                       79
                       ขนาดและน ้าหนัก  ทว่าเหรียญทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ท าขึ้นใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยนเท่านั้น
                       เพราะเหรียญแบบ A พบว่าบรรจุอยู่ในภาชนะที่ฝังภายในศาสนสถาน (โบราณสถาน

                       คอกช้างดิน – ภาพที่ 188) แต่เหรียญแบบ B และ C นั้นพบแพร่หลายกว่า ที่ส าคัญคือมีทั้ง
                       เหรียญเต็มและเหรียญที่ถูกตัดแบ่งครึ่งซีก (1/2) หรือเป็นเสี้ยว (1/4) ซึ่งน่าจะใช้เป็นสื่อกลางใน

                                    80
                       การแลกเปลี่ยน  ส่วนเหรียญแบบ B และ D จากเมืองอู่ทองที่เป็นแผ่นบางและมีขนาดเล็กที่สุด





                                                               208
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219