Page 217 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 217

ภาพที่ 189 ตุ๊กตาดินเผารูปสตรีถือนกแก้ว (ชิ้นกลาง) จากแหล่งโบราณคดีหอเอก เมืองนครปฐม


                              ประติมากรรมอีกแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ  “ตุ๊กตารูปคนจูงลิง”  ซึ่งมักท าขึ้นรูปด้วย
                                                                                      85
                       แม่พิมพ์แบบประกบหน้าหลัง เป็นรูปเด็กผู้ชายเปลือยกาย สวมเครื่องประดับบางชิ้น โดยมีลิง

                       อยู่ทางด้านหน้า (ภาพที่ 190) ตุ๊กตาคนจูงลิงนี้ไม่พบในอินเดียและดินแดนอื่นๆ ในเอเชีย
                       ตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงจัดเป็นโบราณวัตถุชิ้นพิเศษที่สามารถก าหนดอายุสมัยหรือ

                       บ่งบอกถึงวัฒนธรรมทวารวดีได้ (Dvaravati diagnostic artifact) เช่นเดียวกับพระพุทธรูป

                       ประทับเหนือพนัสบดี แต่น่าสังเกตว่ายังไม่มีรายงานการค้นพบตุ๊กตาคนจูงลิงในภาคอีสาน ทว่า
                       พบตุ๊กตาคนจูงลิงจากการขุดค้นที่เมืองหริภุญไชยหรือล าพูน (เคยพบประติมากรรมกวางหมอบ
                       ที่เมืองนี้) ดังนั้นที่เมืองหริภุญไชยจึงมีร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดีด้วย  (ภาพที่ 191)
                                                                                      86


























                                            ภาพที่ 190 ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิง พบที่เมืองอู่ทอง
                                               จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง




                                                               211
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222