Page 222 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 222
ภาพที่ 196
ก้อนตะกั่วและวัตถุส าริด
จากหลุมขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ
ทั้งนี้ในการศึกษาวิเคราะห์ตะกั่วไอโซโทป (lead isotope analysis) ของ ดร.ภูวนาท
รัตนรังสิกุล จากโบราณวัตถุที่ท าจากส าริดและตะกั่วซึ่งได้มาจากแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง เช่น
แหล่งโบราณคดีภูมิสนาย (Phum Snay) ประเทศกัมพูชา (เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก) บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี (เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ตอนปลาย) แหล่งโบราณคดีหอเอกที่เมืองนครปฐมโบราณ และบ้านคูเมือง
(อินทร์บุรี) จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าใช้ตะกั่วที่มาจากเหมืองสองท่อในเขตอ าเภอทองผาภูมิ จังหวัด
กาญจนบุรี แสดงว่าแหล่งแร่ตะกั่วในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศไทยมีความส าคัญมาอย่าง
90
น้อยก็ตั้งแต่ราว 2,000 ปีมาแล้วจนถึงสมัยทวารวดี
การขุดค้นที่เมืองนครปฐมยังได้พบวัตถุดินเผาทรงกลมที่มีลักษณะคล้ายตราดินเผา
แต่ไม่มีรอยจารึกบนพื้นผิว การขุดค้นที่แหล่งหอเอกได้พบวัตถุแบบนี้ 2 ชิ้น (ช ารุด 1 ชิ้น) และ
พบที่แหล่งธรรมศาลา 3 ชิ้น โบราณวัตถุที่พบมีรูปแบบคล้ายกันและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ถึง
4 ชิ้น (ภาพที่ 197) จึงท าการวิเคราะห์ในรายละเอียดได้ดังตารางด้านล่างนี้
คุณลักษณะต่างๆ ของวัตถุดินเผาทรงกลมที่พบจากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ
ชิ้นที่ เส้นผ่านศูนย์กลางรอบนอก (cm.) เส้นผ่านศูนย์กลางวงใน (cm.) หนา (cm.) หนัก (g.)
1 2.82 1.67 1.46 15
2 2.52 1.6 1.03 12
3 2.43 1.6 1.27 12
4 2.82 1.6 1.61 15
216