Page 227 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 227
5.3.5) เบี้ย
“เบี้ย” คือ วัตถุที่ผ่านการขัดฝนตกแต่งรูปร่างให้มีลักษณะกลมหรือเกือบกลม ส่วนใหญ่
94
ท าจากดินเผา แต่มีบ้างที่ท าจากโลหะ, กระดูกสัตว์, กระดองเต่า หรือเปลือกหอย ถือเป็น
โบราณวัตถุที่มักขุดพบเป็นจ านวนมากตามชุมชนสมัยทวารวดี แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้พบเบี้ย
ดินเผาจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวซึ่งเป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ตอนปลายในจังหวัดลพบุรีด้วย
ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ว่าในสมัยทวารวดีใช้เบี้ยในกิจกรรมใด (ภาพที่ 205) นักโบราณคดี
95
อินเดียสันนิษฐานว่า เบี้ยคงเป็นอุปกรณ์กีฬาประเภทต้องเต (hop scotch) ขณะที่การขุดค้น
แหล่งโบราณคดี Lachish เขตปาเลสไตน์ ได้พบแหล่งผลิตภาชนะดินเผา (potter’s workshop)
ก าหนดอายุราว 1,200 - 1,150 ก่อนคริสตกาล ได้พบเครื่องมือที่ใช้ในการตกแต่งภาชนะดินเผา
หลายประเภท ได้แก่ กระดูกปลายแหลม ก้อนหินกรวด เปลือกหอย และเศษภาชนะรูปร่างกลม
96
มีขอบเรียบซึ่งดูคล้ายกับเบี้ยมาก
ภาพที่ 205 เบี้ยดินเผา พบจากการขุดค้นที่เนินพลับพลา เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้เขียนเคยวิเคราะห์รูปแบบของเบี้ยจากแหล่งโบราณคดีเนินพลับพลาในเมืองอู่ทองที่
ขุดค้นในปี 2556 จ านวนทั้งสิ้น 126 ชิ้น พบว่ามีเบี้ยดินเผาทั้งแบบทรงกลม, เกือบกลม,
สี่เหลี่ยมมุมมน, รูปไข่ และแบบห้าเหลี่ยม ซึ่งการที่พบเบี้ยนอกเหนือจากที่มีรูปกลมหรือเกือบ
กลมนั้นคงเกิดทั้งจากความตั้งใจท าเช่นเบี้ยรูปไข่ หรือเป็นชิ้นส่วนซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอน
221