Page 228 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 228
การกะเทาะและขัดฝนให้เป็นเบี้ยต่อไป ขณะที่เบี้ยทรงกลมซึ่งผ่านการขัดฝนเสร็จแล้วนั้นพบ
จ านวนไม่มากนัก คือ 16 ชิ้น (คิดเป็น 17.78%) เท่านั้น
ในการคัดเลือกเศษภาชนะดินเผามาท าเบี้ยส่วนใหญ่ใช้ล าตัวของภาชนะที่ไม่มีลวดลาย
หรือเป็นภาชนะที่มีลายเชือกทาบซึ่งเป็นลวดลายที่พบได้ทั่วไป มีบ้างที่เป็นเศษภาชนะมีลาย
เขียนสี แสดงว่าผู้คนในสมัยทวารวดีน าเศษชิ้นส่วนของภาชนะรูปแบบสามัญที่ใช้กันในครัวเรือน
นั้นเองมากะเทาะขัดฝนเป็นเบี้ย โดยจากข้อมูลสถิติบ่งชี้อีกด้วยว่า ในสมัยทวารวดีไม่มีแบบ
แผนในการผลิตเบี้ยที่จะต้องมีสัดส่วนใกล้เคียงกันแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังได้พบเบี้ยกระดอง
เต่าจากเมืองโบราณขีดขิน เบี้ยเปลือกหอยจากเมืองนครปฐม และในปี 2558 ยังได้ขุดพบเบี้ยที่
ท าจากเครื่องเคลือบสีเขียวของจีนสมัยราชวงศ์ถังที่เนินพลับพลาในเมืองอู่ทองด้วย (ภาพที่
206)
ภาพที่ 206 เบี้ยดินเผา ท าจากเครื่องเคลือบสีเขียวของจีนสมัยราชวงศ์ถัง
พบจากการขุดค้นที่เนินพลับพลา เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
5.3.6) แท่งดินเผา
แท่งดินเผานี้มีขนาดความยาวประมาณหนึ่งฝ่ามือ (มีท าเป็นแผ่นกลมอยู่บ้าง) มีการ
แกะสลักลวดลายเป็นแบบต่างๆ เช่น ลายขูดขีดเป็นช่องตารางอย่างง่ายๆ หรือลายคล้ายดอกไม้
แต่พบไม่มากนัก (ภาพที่ 207) สันนิษฐานว่าเป็นแท่งที่มีไว้ขัดตัวคล้ายหินขัดตัวในปัจจุบัน ซึ่ง
97
เป็นวัฒนธรรมของชาวอินเดีย โดยพบที่เมืองอู่ทอง, เมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี, เมืองฟ้าแดด
สงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์, เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา, เมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์, แหล่ง
โบราณคดีวัดชมชื่น จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น (ภาพที่ 208 - 209)
222